วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีพุทธ กับการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่

Main Article Content

พระครูนิวิฐศีลขันธ์ (ณรงค์ ฐิตวฑฺฒโน)
อัครเดช พรหมกัลป์
รัตติยา เหนืออำนาจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่บนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีพุทธ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างซึ่งค่าความตรงตามเนื้อหารายข้อ และความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ มีค่า 1 และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/หรือคน ด้วยแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่บนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีพุทธ ในการสร้างครอบครัวที่อบอุ่นและเข้มแข็งนั้นคู่สามีและภรรยาจะต้องดำเนินรอยตามหลักสมชีวิธรรม 4 ประกอบด้วย 1) จะต้องมีความเชื่อและทัศนคติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) จะต้องมีการประพฤติปฏิบัติดีเสมอกัน 3) จะต้องลดอัตตาและมีความเสียสละเสมอกัน และ 4) จะต้องมีปัญญาและมีเหตุมีผลเสมอกัน เบื้องต้นคู่สามีจะต้องมีศีล 5 เป็นพื้นฐานและประพฤติการปฏิบัติต่อกันและกันด้วยวิธีการที่ดีใน 3 มิติ คือ 1) ด้านกายกรรม 2) ด้านวจีกรรม และ 3) ด้านมโนกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaichan, A. et al. (2013). Guidelines for the strengthening of families and communities to prevent the sexual risk behavior problem of youth. Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 9(Special Issue), 659-666.

Chaijukul, Y. et al. (2009). Family Strength Research and Development through Participatory Learning Process of Tambon Administrative Organization Leaders. Journal of Behavioral Science, 15(1), 162-184.

Inchaithep, S. et al. (2011). The Development of Happiness Family Indicators for Families in Lampang Province (Research Report). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.

Jeungklinchan, P. (2014). Adaptation process and parenting of adolescent mothers who have to take care of children alone. Case study: users of the Sahathai Foundation. The Golden Teak: Humanity and Social Science, 20(1), 73-90.

Jewpattanakul, Y., & Thapkaew, T. (2014). The development of resolving family conflict guideline for prevention of Thai youth alcohol consumption. Journal of faculty of nursing Burapha University, 22(2), 15-27.

Lertsakornsiri, M. (2014). The Relationship between Personal Factors as well as Families’ Strengths and Developmental Assets in Pregnant Adoliscent. Naresuan University Journal: Science and Technology, 22(3), 47-57.

Sanyavivat, S. (1991). Thai wisdom. Bangkok: Thai Studies Institute.

Sitsirirath, C. (2016). The study of psychosocial factors affecting Thai behavior in students. (Research Report). National Research Council of Thailand: Srinakharinwirot University.

Somkhanat, H. (1992). Local knowledge about humans, the natural environment. Bangkok: Kurusapa Printing.

Tumhiran, K. et al. (2010). Family life conditions, parents, adolescents and social services for (Research Report). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.