ยุ้งข้าวยุคใหม่: กระบวนการปรับตัวสู่ทางรอดแห่งภูมิปัญญาของชาวนาไทย

Main Article Content

อัครเดช พรหมกัลป์
รัตติยา เหนืออำนาจ
จรูญศักดิ์ สุนทรเดชา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการปรับตัวของข้าวและยุ้งข้าวยุคใหม่สู่ทางรอดแห่งภูมิปัญญาของชาวนาไทย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 23 คน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูปหรือคน แล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


  1. ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะต้องสร้างยุ้งข้าวที่มีชีวิตให้เกิดขึ้นในผืนดินของบรรพบุรุษ โดยการเพาะปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์โดยพึ่งพิงระบบนิเวศ สร้างเขตปลอดสารเคมี และมีการรวมกลุ่มแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อร่วมกันแปรรูปแล้วนำออกขายตามความต้องการของตลาด

  2. ด้านการสร้างนวัตกรรม จะต้องมีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงนำมาซึ่งสินค้าเกษตรปลอดภัยเพื่อคนในสังคม โดยการดำรงไว้ซึ่งจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้บริโภค

  3. ด้านการสร้างความยั่งยืน จะต้องร่วมกันสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแปลงเกษตร มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวแล้วหันมาทำไร่นาสวนผสม และการสร้างเครือข่ายการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  4. ด้านการสร้างวิถีแห่งการเปลี่ยนผ่าน จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลไปสู่ทุก ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ผืนดินกลับกลายเป็นยุ้งข้าวยุคใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับลูกหลานชาวนา

Article Details

How to Cite
พรหมกัลป์ อ., เหนืออำนาจ ร. ., & สุนทรเดชา จ. (2020). ยุ้งข้าวยุคใหม่: กระบวนการปรับตัวสู่ทางรอดแห่งภูมิปัญญาของชาวนาไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(5), 1695–1707. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/243953
บท
บทความวิจัย

References

Balavuddho, P., & Phumturian, S. (2019). Farmers Development according to the Sufficiency Economy Philosophy of the Kamphaeng Phet Land Reform Office in Thung Khok Wua Land Reform Area, Nakhon Chum Sub-district, Mueang District, Kamphaeng Phet Province. The Journal of Research and Academics, 3(1), 57-68.

Boonari, P. (2001). Northeastern Huan and Isan ancient buildings. Ubonratchathani: Ubonratchathani Rajabhat Institute.

Bundhuwong, C. (2013). Rice and Thai farmers in the changing trend. (Doctoral Dissertation). United States of America: University of Hawaii.

Chitsuthipakorn, V. (2016). Nakhonsawan Farmers' Problems. Interview. October, 12.

Laon, T. (2010). Economic changes of the peasant society in Isan region, from 1957-2007: a case study of Kugasing Village, Roi Ed Province. (Master’s Thesis). Graduate school: Chiang Mai University. Chiang Mai.

Ngamlamom, W. (2011). Sustainable Poverty Solution for Thai Farmer's Life Strategy (Research Report). Pathum Thani: Thai Academy of Management Development Research.

Nildum, S. (2017). Nakhonsawan Farmers' Problems. Interviewe. April, 7.

Noppan, C. (2017). Nakhonsawan Farmers' Problems. Interview. January, 28.

Sangwan, C., and Parinyasutinun, U. (2014). Rice fields in Ranod: The rice farmers’ changing way of life amidst globalization. Journal of Language, Religion and Culture, 3(1), 109-124.

Tuamtad, S. (2017). Nakhonsawan Farmers' Problems. Interview. March, 15

Wongrod, S. (2017). Nakhonsawan Farmers' Problems. Interview. March, 17