บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินคดีฟอกเงินในกระบวนการยุติธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
พยานหลักฐานตามหลักนิติวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินคดีฟอกเงิน การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพจริงของพยานหลักฐาน ความผิดมูลฐาน ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง สำนวนการสอบสวนที่ส่งผลต่อการดำเนินคดีฟอกเงินในกระบวนการยุติธรรม และ 2) อิทธิพลของความสัมพันธ์พยานหลักฐาน ความผิดมูลฐาน ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง สำนวนการสอบสวนที่ส่งผลต่อการดำเนินคดีฟอกเงินในกระบวนการยุติธรรม การดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสอบสวนในกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 เจ้าหน้าที่การเงินการธนาคารและการฟอกเงิน เจ้าหน้าที่สอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและทางเศรษฐกิจ และเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่มีความรู้ เชี่ยวชาญการทำสำนวนสืบสวนสอบสวนคดีฟอกเงิน ด้านกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จำนวน 13 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาและแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพจริงของพยานหลักฐาน ความผิดมูลฐาน สำนวนการสอบสวนส่งผลต่อการดำเนินคดีฟอกเงินในกระบวนการยุติธรรมเห็นด้วยในระดับมากที่สุด และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องส่งผลต่อการดำเนินคดีฟอกเงินในกระบวนการยุติธรรมเห็นด้วยในระดับมาก และ 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลได้แก่ สำนวนการสอบสวนคดีฟอกเงิน โดยทักษะความเชี่ยวชาญในการนำพยานหลักฐานมาทำสำนวนสอบสวนเป็นสิ่งสำคัญต้องพัฒนาทักษะความรู้ ต้องมีการวัดระดับประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวน โดยผลการวิจัยนี้เชิงองค์ความรู้ใหม่มีประโยชน์ต่อการดำเนินคดีฟอกเงินในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ประเทศไทยได้รับความเชื่อมั่นในเรื่องของความโปร่งใสในการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลและเป็นแนวทางในศึกษาพัฒนาและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานแบบบูรณาการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลของการดำเนินคดีฟอกเงิน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Anti-Money Laundering Act, B.E. 1999.
Beekarry, N. (2011). International Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism Regulatory Strategy: A critical analysis of compliance determinants in international law 13 Northwestern. Journal of International Law & Business, 137.
Bunyopas, W. (2015). Economic Crime. Bangkok: Nititham Publisher, Cheltenham, UK.
Christine, D. (2014). What is Money Laundering? Duhaime's Financial Crime and AntiMoney Laundering Law". March 7, 2014. Retrieved January 12, 2016, from http://www.antimoneylaunderinglaw.com/aml-law-in-canada/what-ismoneylaundering.
Financial Action Task Force. (2012). International Standards on Combating Money and the Financing of Terrorism & Proliferation, FATF, Paris, France, Retrieved January 12, 2016, from http://www.fatf-gafi-org/recommendation.html
Financial Secrecy Index. (2020). The FSI Value is calculated by multiplying the cube of the Secrecy Score with the cube root of the Global Scale Weight. The final result is divided through by one hundred for presentational clarity. Retrived February 25, 2020, from https://fsi.taxjustice.net/en/introduction/fsi-2018-results.
Francis, R. D., Armstrong, A. F., & Foxley, I. (2015). Whistleblowing: A three-part view. Journal of Financial Crime, 22(2), 208-218.
Michelle, M. G. (2005). Money Laundering and the Proceeds of Crime: Economic Crime and Civil Remedies', Canada: Faculty of Law (University of Manitoba).
Hinterseer, K. (2001). The Wolfsberg Anti-Money Laundering Principles. Journal of Money Laundering Control, 5(1), 25-41.
Hopton, D. (2016). Money Laundering: A Concise Guide for All Business. (2nd ed.). Routledge.
Kantee, P. (2010). Criminological Theory: Principle, Research and Policy Implication. Bangkok: Aable & Primpton.
Supathada, S. (2019). Forensic Accounting. Bangkok: Chulalongkorn University Publisher.
Unger, B. et al. (2006). The Scale and Impact of Money Laundering. Edward Elgar.
Vaithilingam, S. (2007). Factors Affecting Money Laundering: Lesson for Developing Countries Journal of Money Laundering Control, 10(3), 352–366.