การประเมินสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการเสริมสร้างคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

รังสรรค์ ปู่ทอง
จักรกฤษณ์ โปณะทอง
จตุพล ยงศร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ศึกษาความคาดหวังของคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3) ศึกษาความต้องการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ปีการศึกษา 2562 จากสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4 สถาบัน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและเลือกแบบเจาะจง จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นโดยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ ภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.19) (2) นักศึกษามีระดับความคาดหวังของคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.20) (3) นักศึกษามีความต้องการฝึกอบรมด้านคุณลักษณะการตั้งคำถามมากที่สุด (PNI =0.45) รองลงมาคือ คุณลักษณะการสังเกต (PNI =0.34) คุณลักษณะการเชื่อมโยง (PNI =0.30) คุณลักษณะการสร้างเครือข่าย (PNI = 0.29) และคุณลักษณะการทดลอง (PNI = 0.23) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ปู่ทอง ร., โปณะทอง จ. ., & ยงศร จ. . (2020). การประเมินสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการเสริมสร้างคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2165–2178. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/243502
บท
บทความวิจัย

References

Astin, A.W. (1993). An Empirical Typology of College Students. Journal of College Student Development, 34(1), 36-46.

Chareonwongsak, K. (2008). The Leadership of Thai Children and Youth. Retrieved March 5, 2018, from http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.

Dyer, J.G., Gregersen, H. B., & Christensen, C. M. (2011). The Innovator's DNA: Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators. Boston: Harvard Business Press.

Hersey, P., Blanchard, K.H., & Johnson, D.E. (1996). Management of Organizational Behavior. (7th Ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Howell, J. M., & Shamir, B. (2005). The Role of Followers in the Charismatic Leadership Process: Relationships and their Consequences. Academy of Management Review, 30(1), 96-112.

Krejcie, R. R., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lee, S. K., & Benza, R. (2015). Teaching Innovation Skill: Application of Design Thinking in Graduate Marketing Course. Business Education Innovation Journal, 7(1), 43-50.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological, 3(1), 42-48.

Ministry of Education. (2018). Qualification Standard for Bachelor's Degree Programs in Recreation Based on the Thai Qualification Framework for Higher Education B.E. 2015. Retrieved March 20, 2018, from https://www.moe.go.th

Denning, J. P., & Dunham, R. (2010). The Innovator’s Way: Essential Practices for Successful Innovation. Cambridge: MIT Press.

Peterson, T. (2011). Innovation in Action: Leading by example. EDTECH, 9(3), 49-51.

Robert, F. B., & Jeff, Z. (2010). Leadership Vacuums and Overcoming Barriers to Innovation. Retrieved January 11, 2012, from http://www.business-strategy-innovation. com/2010/04/leadership-vacuums-andovercoming.html

Rochvatanaboon, O. (2010). Model of Factors Influencing Innovative Leader. (Doctoral Dissertation). Graduate school: National Institute of Development Administration. Bangkok.

Swallow, E. (2012). Can innovation thinking be learned. Forbes, 6(3), 1-2.