รูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำหลักการอุตสาหกรรมสีเขียวมาใช้เพื่อสร้างความยั่งยืน 2) ศึกษาแนวทางการปฏิบัติเพื่อนำอุตสาหกรรมเหล็กไทยไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้บริหารชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรมเหล็กจำนวน 5 ท่าน จาก 5 หน่วยงานที่ และเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ จากผู้ปฏิบัติงานทั้ง 5 หน่วยงาน ๆ ละ 10 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า มิติที่ 1 มุมมองด้านการเงินมีผลต่อการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทย สู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับเห็นด้วยมาก จากการสัมภาษณ์นั้นผู้บริหารลงความคิดเห็นว่าการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเหล็กให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวได้นั้นต้องมีการลงทุนด้านเครื่องจักร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรนั้นต้องวิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์นั้นคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ มิติที่ 2 มุมมองทางด้านกระบวนการจัดการภายในอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก การจะผลักดันองค์กรให้ประสบผลสำเร็จในการเป็นองค์กรสีเขียวได้นั้น จากการสัมภาษณ์ปัจจัยอยู่ที่การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง มิติที่ 3 มุมมองทางด้านลูกค้าและสังคม ผลในระดับเห็นด้วยมาก จากการสัมภาษณ์ “สังคม” มีผลกระทบและมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้องค์กรปรับตัวและพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน หากองค์กรไม่ได้รับการยอมรับ การทำธุรกิจก็จะเป็นเรื่องยุ่งยาก อีกทั้งการที่บริษัทเป็นองค์กรสีเขียวจะส่งผลดีแก่สังคมและชุมชนรอบองค์กร มิติที่ 4 มุมมองทางด้านการเรียนรู้และการเติบโต จากการสัมภาษณ์พบว่าในปัจจุบันเทรนของตลาดยังไปในทิศทางการผลิต การใช้สินค้าที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับเปลี่ยนองค์กร รวมถึงกระบวนการผลิตให้เป็นสีเขียวนั้น จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจ และความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Department of Industrial Works. (2018). Steel industry overview. Retrieved May 3, 2019, from http://www2.diw.go.th/I_Standard/Web/pane_files/Industry23.asp
Department of International Trade Negotiations. (2016). Project to study the effects of the free-sector supply chain (Industrial products). Retrieved June 7, 2019, from http://www.thaifta.com/thaifta/Home/รายงานการศึกษา/tabid/55/ctl/Details/mid/435/ItemID/8271/Default.aspx
Khamhome, B. (2014). Factors affecting the decision to join the green industry program of Entrepreneurs in Ubon Ratchathani Province. Panyapiwat, 5(special), 92-104.
Ministry of Industry. (2013). Factory information. Ministry of Industry. Retrieved June 7, 2019, from http://userdb.diw.go.th/results1.asp
Ministry of Industry. (2017). Iron and steel. Retrieved May 3, 2019, from http://www.dip.go.th
Ministry of Industry. (2017). Statistic of New Factory. Department of Industrial Works. Bangkok, Thailand. Retrieved September 23, 2019, from http://userdb.diw.go.th/fac_month/menu.asp.
Patton, M. Q. (1990). Qualitative evaluation and research methods. (2nd ed.). Newbury Park, CA: Sage.