มาตรฐานฝีมือแรงงาน ความรู้แรงงาน ทักษะความชำนาญ และกระบวนการผลิตที่มีผลต่อการส่งออกเฟอร์นิเจอร์

Main Article Content

ปาลิดา ศักดิ์กีรติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ มาตรฐานฝีมือแรงงาน ความรู้แรงงาน ทักษะความชำนาญ และกระบวนการผลิต และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย จำนวน 300 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จำนวน 9 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ มาตรฐานฝีมือแรงงาน ความรู้แรงงาน ทักษะความชำนาญ และกระบวนการผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) กระบวนการผลิตมีผลต่อการส่งออกเฟอร์นิเจอร์มากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะความชำนาญ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และความรู้แรงงาน ตามลำดับ ผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออก โดยผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยไปใช้กำหนดแผนการปฏิบัติงาน และเพิ่มพูนทักษะของแรงงานในกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ในอนาคตได้

Article Details

How to Cite
ศักดิ์กีรติ ป. . (2021). มาตรฐานฝีมือแรงงาน ความรู้แรงงาน ทักษะความชำนาญ และกระบวนการผลิตที่มีผลต่อการส่งออกเฟอร์นิเจอร์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1553–1564. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/243291
บท
บทความวิจัย

References

Angsuchote, S. et al. (2011). Statistical analysis for social science and behavioral science research. Techniques for using LISREL. (3rd ed.). Bangkok: Charoen Dee Stable Printing Company.

Beijerse, R. P. (2000) . Knowledge management in small and medium sized companies. Knowledge management for entrepreneurs, 4(2), 162.

BLT Bangkok. (2019). Furniture Business Enjoys Windfall from Booming Real Estate. Retrieved May 17, 2019, from http://www.bltbangkok.com/News/Thailandfurniturebusiness.

Grace, J. B. (2008). Structural equation modeling for observational studies. Journal of Wildlife Management. 72 (1), 12-14.

Kanjanaruji, D., & Maphobsuk, W. (2017). The study of Thailand Furniture Industry Labors Problems and the Strategic Proposal for Labors Life Quality Improvement. The 8th National and International Hat Yai Academic Conference, Hat Yai University.

Kulnithet, N., & Somjai, S. (2015). Advanced Research Methods. And research design (2nd ed.). Bangkok: Master Print Samsen.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). New Jersey:Prentice – Hall.

Subtaetrakool, V. (n.d.). National Skill Standards. Department of Skill Development Ministry of Labor. Retrieved December 22, 2018, from http://www.edu.ru.ac.th/coved/pdf/Na

Tantitrakul, P. (2014). Factors for Supervision Control in Schools in Secondary Education. Under the Office of Secondary Education Service Area 8 -10. Veridian E-Journal, 7(2), 65.

Thienput, D. (1998). Human resource management in the next decade. Bangkok: Chulalongkorn University.

Woodworkingthai. (2013). Wood furniture production process. Retrieved November 30, 2018, from http://woodworkinginthai.blogspot.com/