การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

เกวลิน งามพิริยกร
สิทธิกร สุมาลี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนที่ได้รับรางวัลภาษาไทยดีเด่นของคุรุสภากระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 30 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตการณ์สอนและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและพร้อมกับความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง ควรเพิ่มทักษะในการฟังคำแนะนำและปฏิบัติตามอย่างเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญ เพื่อนำไปสื่อสารพูดแสดงความคิดเห็น มีการใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม ทั้งการอ่านเพื่อสรุปความจากเรื่องที่อ่าน การเขียนโดยใช้การเขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล จากการนำแผนการสอนไปปฏิบัติจริงในชั้นเรียน พบว่า (1) ขั้นนำ พบว่า นักเรียนมีความกังวล ไม่กล้าตอบคำถาม และไม่กระตือรือร้น ครูผู้สอนจึงต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่แตกต่างกันตามช่วงวัย โดยในระดับประถมศึกษา ครูเริ่มต้นขั้นนำกิจกรรมด้วยเกมหรือเพลงทำให้นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม ขณะที่ระดับมัธยมศึกษา จะเริ่มต้นขั้นนำด้วยการตั้งคำถาม ดูวีดีโอ หรือการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสอน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า นักเรียนบางส่วนขาดการปฏิสัมพันธ์กับครูและสื่อที่นำเสนอ ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย (2) ขั้นสอน พบว่า นักเรียนชอบทำงานกลุ่มหรือคู่มากกว่างานเดี่ยว ชอบลงมือปฏิบัติมากกว่าการฟังบรรยาย และ (3) ขั้นสรุป พบว่า ครูมีการตั้งคำถามให้นักเรียนอภิปราย การวิพากษ์ให้ข้อเสนอแนะ เป็นการสะท้อนความรู้ รวมถึงการนำเสนอผลงาน ซึ่งนักเรียนสามารถตอบคำถามและอภิปราย รวมถึงการนำเสนอผลงานได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
งามพิริยกร เ., & สุมาลี ส. (2020). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1217–1226. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/243245
บท
บทความวิจัย

References

Athikiat, K. (2014). Learning activities in Thai teaching. (4th Ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education. (2008). Learning management of Thai language subject group under Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (2008). Bangkok: Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education.

Kadfak, M. (2014). A study of the conditions and problems of learning and teaching Thai for grade 6 students of schools in Muang District, Uttaradit. (Master’s Thesis). Uttaradit Rajabhat University. Uttaradit.

Office of the National Primary Education Commission. (2001). Self-development report of school personnel regarding to student-centered learning process. Bangkok: Office of the National Primary Education Commission.

Perrenoud, P. (1999). The Skill Approach in Education from Theory to Practice. Cambridge: Cambridge Scholars Publishing.

PR Technical Development Office. (2018). Articles of National Thai Language Day: 29 July. Bangkok: National News Bureau of Thailand, Public Relations Department.

Supana-Uam, K. (2007). Characteristics of Thai language teacher. Retrieved April 9, 2015, from https://www.gotoknow.org/posts/102423.