รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

นภาภิส ตรีเพ็ชรไพศาล
โกมล ไพศาล
สุดาวรรณ สมใจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการวิจัย ดังนี้ 1) สร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยโดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบดังกล่าว และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ โดยให้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนอนุบาลฟ้าใส อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน เก็บรวบรมข้อมูล ใช้แบบประเมินความสามารถทางการคิดของเด็กปฐมวัย โดยให้ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนในชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2
ของโรงเรียนอนุบาลในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีเป็นผู้ประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที


          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นระดมสอง ขั้นระบุปัญหา ขั้นสืบค้นหาคำตอบ ขั้นสรุปผล และขั้นนำเสนอผล และ 2) ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย พบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีความสามารถทางการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีความสามารถทางการคิดวิจารณญาณสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amornchewin, B. (2013). Critical Thinking. Bangkok: Print Limited Partnership.

Chotipradit, S. (2008). A Study and Development for Critical Thinking of Young Children Enhancing Model for Learning Activities Through Communicative – Based Approach. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Nakhon Pathom.

Khammanee, T. (2012). Learning to develop thinking processes. Bangkok: Square Printing House.

Piaget, J. (1970). Science of Education and the Psychology of the Child. New York: Orion Press.

Piaget. J., & Inhelder, B. (1964). The Growth of logic; From childhood to adolescence. New York: Basic Book.

Sinthapanon, S. et al. (2009). Innovative teaching and learning to improve the quality of youth. (3rd ed). Bangkok: 9119 Printing techniques.

Somsak, M. (2009) . Supporting documents for educational research courses. Faculty of Education: Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

Tantiphachewha, K. (2008). Organizing learning activities for preschool children. Bangkok: Pimaksorn publishing.