พัฒนาการการประเมินมูลค่าของ 5 มาสกในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

นันทพล โรจนโกศล

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งสนใจใน 5 ประเด็น ได้แก่ (1) ที่มาของศัพท์และความหมายของมาสก
(2) พัฒนาการด้านความเป็นองค์แห่งการละเมิดสิกขาบทของมาสกชนิดทองคำ (3) พัฒนาการด้านน้ำหนักของทองคำ 5 มาสก (4) พัฒนาการด้านค่าความบริสุทธิ์ของทองคำที่มีอยู่ในมาสก (5) พัฒนาการด้านการประเมินมูลค่าของ 5 มาสกชนิดทองคำ ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า ที่มาของศัพท์และความหมายของมาสกเป็นฐานความรู้ให้กับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ความเป็นองค์แห่งการละเมิดสิกขาบทข้ออทินนาทานของมาสก ปรากฏชัดเจนในพระไตรปิฎก แต่การที่มาสกนี้เป็นทองคำปรากฏชัดเจนในคัมภีร์ชั้นฎีกา และคัมภีร์ชั้นฎีกายังทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องน้ำหนักว่า ทองคำที่มีน้ำหนักเท่ากับ 5 เมล็ดของถั่วมาส หากนำค่านี้ไปเชื่อมโยงกับการศึกษาเหรียญกษาปณ์อินเดียโบราณจะทำให้ทราบว่า น้ำหนัก 5 มาสกเท่ากับ 1.13 หรือ 1.18 กรัม นอกจากนี้เรื่องค่าความบริสุทธิ์ของทองคำที่มีอยู่ในมาสกปรากฏชัดเจนในคัมภีร์ชั้นฎีกาเช่นกัน ซึ่งมี 2 นัย คือ ค่าสูงสุดที่เป็นไปในครั้งพุทธกาล และไม่เกิน 1 ใน 4 ของค่าสูงสุดนั้น หากนำค่าทั้ง 2 ไปเชื่อมโยงกับวิธีสกัดทองยุคพุทธกาลจะทำให้ทราบว่าเท่ากับ 93 และ 23.177 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  เมื่อพัฒนาการใน 2 ด้านหลังเป็นเช่นนี้ การประเมินมูลค่าของ 5 มาสกจึงมี 4 นัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ASTV. (2015). Opening 5 editions of paper, Somdet Phra Sangkharat Pointed Out ‘Dhammajayo' Breaking the Highest Level of Adinnādānā Moral Rule. ASTV. Retrieved July 2, 2018, from http://www.manager.co.th/Home/ViewNewsaspx?NewsID=9580000021845.

Cunningham, A. (1891). Coins of Ancient India from the Earliest Time Down to the Seventh Century A.D. London: B. Quaritch.

Hnon Tripitaka. (2015). 5 Māsaka Problem. Retrieved July 2, 2018, from http://watnaprapong.blogspot.com/2015/02/blog-post_20.html.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1963). Pali Tripitakas. Bangkok: Rungruang Press.

________. (1990-1991, 2006). Pali Commentary. MCU Press, Vinyan Press.

________. (1996-2002). Pali Sub-commentary. MCU Press, Vinyan Press.

Paderm. (2014). 5 Māsaka Problem. Retrieved July 2, 2018, from http://www.dhammahome.com/webboard/topic/24794.

Phra Amarabhirakkhit. (2003). Pubbasikkhāvaṇ na. in Vajirañānvarorasa, Somdet Phramahasamanacao Kromphaya (ed.). SattapubbaPubbasikkhā and Pubbasikkhāvaṇna. 8th printing. Nakhon Pathom: MMU Press.

Phra Candhasārābhivoṅsa (translator and commentator). (2003). Kaṅkhāviranī: Commentary of Pātimokkha, book I. by Phra Buddhaghosagāraya. Bangkok:Prayurasasnathai Press.

Phra Dhamkittivoṅ (Thongdee Suratejo) . (2007). Vocabulary Analysis. (2nd ed). Bangkok: Liangshiang Printing.

________. (2010). Dictionary for Buddhist Study Gamvat series. (3rd ed). Bangkok: Liangshiang Printing.

Phra Moggallana. (2016). Abhidhannappadipika. Trans. By Phramaha Phirojna yanakusalo, and Dhammada, C. Bangkok: Prayurasasnathai Press.

Phra Ñāṇavilāsathera & PhraSirimaṅgalācārayathera. (2003). Saṅkhyapakāsakapakarana-tīka. Edited by Sutont, Rungsee. n.p.

Pralongsheng, K. (2015). Value of 5 Māsaka. Retrieved July 2, 2018, from https://www.thairath.co.th/content/484213.

Rodjanagoson, N. (2019). Buddhist Integrated Paranumismatica and Evaluation of the 5 Māsakas. (Research Report). Bangkok: Mahachulalongkorn University.

Royal Society. (2013). Dictionary Royal Society edition B.E. 2554. (2nd ed). Bangkok: Nanmee Book Publications.

Vajirañānvarorasa, Somdet Phramahasamanacao Kromphaya. (2014). Vinaimukha. Book I. (41st ed). Bangkok: Mahamakutrajvitayalai Press.