การแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม: จากนักโทษสู่นักกีฬาอาชีพ

Main Article Content

พรรณวดี คำไชยวงค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรม และความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคมของนักกีฬาอาชีพซึ่งเคยเป็นนักโทษ 2) ศึกษาแนวทางการใช้กีฬาเพื่อฟื้นฟูผู้กระทำผิดและลดการกระทำผิดซ้ำ ใช้วิธีศึกษาเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ คือ นักกีฬาอาชีพผู้เคยเป็นนักโทษ จำนวน 8 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิระดับนโยบายของกรมราชทัณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาเชิงวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม ประกอบด้วย 1) แรงจูงใจทางสังคม คือ เป้าหมายในความสำเร็จ การเป็นที่ยอมรับ การเป็นแบบอย่าง    และการได้รับโอกาส 2) แรงจูงใจในด้านเศรษฐกิจ คือ การมีรายได้ที่เพียงพอในการดูแลครอบครัวและใช้จ่ายส่วนตัว 3) แรงจูงใจจากตนเอง คือ การยอมรับตนเอง ความรู้สึกว่ามีคุณค่า และความกลัวที่ต้องกลับไปรับโทษหากกระทำผิดซ้ำ 4) สภาพแวดล้อมที่ดี คือ ครอบครัวและเพื่อน 5) การฟื้นฟูผู้กระทำผิดจากในเรือนจำ คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในระหว่างการรับโทษ และ 2) กรมราชทัณฑ์ได้ใช้กีฬาเพื่อฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำ เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย พัฒนาด้านจิตใจ ส่งเสริมระเบียบวินัย รวมถึงมีการสนับสนุนนักโทษที่มีความสามารถในกีฬาเฉพาะด้าน ให้เข้ารับการแข่งขันในรายการต่าง ๆ ตลอดจนโครงการด้านกีฬาจากภาครัฐและเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการสร้างโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anderson, K., & Overy, K. (2010). Engaging Scottish young offenders in education through music and art, International Journal of Community Music, 3(1), 47–64.

Maruna, S. (2001). Making good: How ex-convicts reform and rebuild their lives. Washington, DC: American Psychological Association.

Meek, R., Champion, N., & Klier, S. (2012). Fit for release: How sports-based learning can help prisoners engage in education, gain employment and desist from crime. London: Prisoners Education Trust.

Meek, R., & Lewis, G. (2013). The benefits of sport and physical education for young men in prison: An exploration of policy and practice in England and Wales. Prison Service Journal, 209, 3-11.

Ministry of Justice. (2017). Justice Magazine. Retrieved March 20, 2020, from https://www.east.spu.ac.th/journalLibrary/filepdf/20170907542040170.pdf

Parinya, C. (2019). Bangkokbiz Judprakai. Retrieved March 19, 2020, from https://judprakai.bangkokbiznews.com/social/1359

Pornchai, K. (2010). Criminological Theory: Principle, Research and Policy Implication. Bangkok: Aable & Primpton.

Sumonthip, J. (2015) Instruction document of Criminology and Criminal Justice. Retrieved November 9, 2019, from https://www.polsci.chula.ac.thsumonthipbuscrireason.htm

Thailand Institute of Justice. (2018). TIJ campaigns for “Integrating Sports into Youth Crime Prevention”. Retrieved January 6, 2020, from https://www.tijthailand.org/en/highlight/detail/tij-campaigns-for-integrating-sports-into-youth-crime-prevention

Thailand Institute of Justice. (2019). The opening ceremony of the UNEGM Sport for youth crime prevention”. Retrieved January 7, 2020, from https://www.tijthailand.org/en/highlight/detail/egm-sport-for-youth-crime-prevention

Thaleungsak, I. (2011). The motivation and performance of security personnel in King Mongkut’s University of Thonburi. (Master’s Thesis). Silapakorn University. Bangkok.