การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Main Article Content

ธนาวุฒิ สุขสำราญ
จักรกฤษณ์ โปณะทอง
จตุพล ยงศร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพความคาดหวังของการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ไปใช้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 365 คน โดยสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน เก็บแบบประเมินจาก ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 291 คน ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณารูปแบบและข้อเสนอแนะ จำนวน 9 คน และ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์โดยผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 57 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) และการทดสอบที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่มากที่สุดคือ ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รองลงมา คือ ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ถัดมาสองด้านที่เท่ากัน คือ ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ และ ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ด้านภาวะผู้นำและการนำองค์กร และด้านการวางแผนกลยุทธ์ ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์มี 7 องค์ประกอบ จำนวน 46 ข้อ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 1) นโยบายระดับกระทรวง จำนวน 7 ข้อ 2) นโยบายระดับสถาบัน จำนวน 7 ข้อ และ 3) นโยบายระดับคณะและวิทยาลัย จำนวน 7 ข้อ

Article Details

How to Cite
สุขสำราญ ธ., โปณะทอง จ. ., & ยงศร จ. . (2020). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2151–2164. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/242769
บท
บทความวิจัย

References

Asawaphum, S. (2016). Excellence and Excellence Management. Bua Bundit Journal Educational Management, 16(1), 1-8.

Boonma, H. (2018). Organizational Culture Promoted by Bunditpatanasipla Institute, Ministry of Culture. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 37(1), 59–73.

Bunditpatanasilpa Institute. (2017). Bundit Pattanasilpa Institute Development Plan 2017-2021. Nakhon Pathom: Copy Work.

Bunditpatanasilpa Institute. (2018). Self-Assessment Report, Self-Assessment Report 2018. Nakhon Pathom: Institute.

Bunditpatanasilpa Institute. (2007). Bunditpatanasilpa Institute Act 2007 and related laws. Nakhon Pathom: Nucha Printing Company Limited.

Linin, C. (2019). Know best practices: Best Practice, International Affairs Division and Quality Assurance. Rajamangala University of Technology Srivijaya. Retrieved September 29, 2019, from http://www.ks.rmutsu.ac.th/en/bestpractice.

Gardner, J. (1961). Excellence. New York: Haper and Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Likitpongwit, B. (2017). The Excellence Factors for Nursing College Administration under the Ministry of Public Health. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 117–134.

Maun, R. (2016). Efficient Teaching and Learning in Higher Education. Journal of Southern Technology, 9(2), 169-176.

National Quality Award Office. (2019). Background, National Quality Award. Retrieved October 6, 2019, from https://www.tqa.or.th/th/tqa-award/background/.

Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public organization). (2014). Report of the results of third round external quality assessment Tertiary level. Bangkok: Office.

Singhsri, P. (2015). The Relationship Model Between Intellectual Capital, Knowledge Management and Organization Excellence of Thai Higher Education. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University under the Royal Patronage, 9(1), 187–203.

Srinuchshart, K. (2017). Administrative Guidelines of Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Air Force Academy to Excellence. Royal Thai Air Force Academy Journal of Humanities and Social Sciences, 5(5), 74–86.

Tipphong, S. (2014). Administrative and Mechanism Performance Excellence for Home Economics Program, Rajabhat. Suthiparithat Journal Dhurakij Pundit University, 28(86), 257–273.

Wongwan, S. (2007). Research on Needs Assessment. Bangkok: Chulalongkorn University.