รูปแบบการส่งเสริมประเพณีการแห่เทียนพรรษาเชิงบูรณการของชุมชน ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระมหาพรชัย ฉนฺทธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมประเพณีการแห่เทียนพรรษาเชิงพุทธบูรณาการของชุมชนในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำราวิชาการ หนังสือ งานวิทยานิพนธ์ งานวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งทำการวิจัยภาคสนาม  ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ตามหลักอุปนัยวิธี  


ผลการวิจัยพบว่า


รูปแบบประเพณีแห่เทียนพรรษาของชุมชนในอำเภอเขมราฐ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนามีการสืบทอดประเพณีการแห่เทียนพรรษาที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชุมชน ความแตกต่างของการทำต้นเทียนในสมัยอดีตและปัจจุบันมีความแตกต่างกันตั้งแต่กระบวนการทำ รูปแบบ องค์ประกอบการประดับตกแต่ง จุดประสงค์ในการทำต้นเทียนสมัยพุทธกาลก็เพื่อเป็นพุทธบูชา และเพื่อเป็นการเชิดชูวัดวาอาราม และเพื่อใช้จุดให้แสงสว่าง แต่ในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบันการทำต้นเทียนมุ่งที่การทำเพื่อเป็นการเชิดชูวัดวาอารามและพระพุทธศาสนาและเพื่อการประกวดแข่งขันเป็นสำคัญ ดังนั้นต้นเทียนที่ทำในระยะหลังจึงไม่มีการใช้จุด แต่ทำขึ้นเพื่อเก็บไว้ใช้ในประกวด


รูปแบบการส่งเสริมประเพณีการแห่เทียนพรรษาเชิงพุทธบูรณาการของชุมชนในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีแนวทางการส่งเสริมโดยการนำหลักธรรมคำสอนที่เป็นแรงบันดาลใจและหลักธรรมที่ทำให้ความสามัคคีเข้าไปสอดแทรกในประเพณีการแห่เทียนพรรษาผ่านการแกะสลักต้นเทียนและการส่งเสริมการท่องเที่ยวและนอกจากนี้ควรปลูกฝังจิตสำนึกของคนในชุมชนด้วยการจัดทำโครงการส่งเสริมและให้ความรู้



ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนที่นำมาใช้ในการส่งเสริมประเพณีการแห่เทียนพรรษา เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ต่องานประเพณีการแห่เทียนพรรษาของชุมชนอย่างจริงจังและเห็นคุณค่า คุณประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลงานให้ยิ่งใหญ่ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขของคนในชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aneksuk, B. (2001). Government and the Investment of Culture: A Case Study of the Candle Festival in Ubon Ratchathani Province Thesis Master Arts. Graduate School: Mahidol University.

Hongpukdee, N. & Hongpukdee, S. (2016). Costs of Candle Making: A Local Wisdom in the Candle Festival of Ubon Ratchathani Province. Executive Journal, 36(2), 62-78.

Isangate. (2015). Candle festival. Retrieved November 9, 2019, from http://www.isangate.com/local/candle_01.html.

Kaewthep, K. (2011). Cultural and Religious Heritage: Creative Power in the Community. (2nd ed). Bangkok: Sue-aksorn.

Lamton, T. (2016). A Study of Buddhist lent in Esarn’s Society. Journal of MCU Ubon Review, 1(1), 20-30.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2009). A Constitution for Living: Buddhist Principles for a Fruitful and Harmonious Life. (116th ed.). Bangkok: Department of Religion, Ministry of Culture.

Phra Naruepan Ñanissaro. (2019). The Way of Kruba’s life: Concepts and mechanisms of Participatory Social Development. Journal of Arts Management, 3(3), 205-222.

Phrakroobaideeka Supot Tapasilo et al. (2018). Youths’ Roles in Candle Festival: Refection on Gaps between Learning Process and Local Culture Preservation in Ubon Ratchatani Province. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 5(1), 77-90.

Pramaha Prakasit Thitipasitthikorn. (2020). Conscious Building the Good Citizenship in Community development and Urbanized Buddhist Community in Nakhon Pathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(1), 63-80.

Saengdeunchayand, R. & Tavachalee, R. (2019). Guidelines for the Development of Sustainable Buddhist Village Project Management. Journal of Arts Management, 3(2), 91-104.

Wisdom Foundation. (2004). Folk Wisdom with Rural Development. Bangkok: Amarin Printing.

Phrakhru Pitaksillapakhom. (2020). Buddhist Monks and Social Work in Thailand Society. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(1), 81-92.