แบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจการขายและบริการเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ ในประเทศไทย

Main Article Content

รินทร์ลภัส นันทธีรพัฒน์
ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอโมเดลการบริหารเงินทุนหมุนเวียน และความสัมพันธ์ของขนาดของบริษัทที่ส่งผลต่อการการทำกำไรของบริษัท สำหรับบริษัทขายและบริการเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ เครือข่ายไอทีและซอฟต์แวร์ ในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารทางด้านการเงินของบริษัท จำนวน 10 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 391 บริษัท เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถามที่ผ่านการตวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างกำหนดให้เป็นแบบจำลองการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL for Windows version เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของแบบจำลองการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องยังไม่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการปรับโมเดล โดยพิจารณาจากคำแนะนำในการปรับ โดยยินยอมให้ผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้น ให้ค่าความคลาดเคลื่อนสัมพันธ์กันได้ ซึ่งในการปรับโมเดลมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยพบว่า ค่าx2  = 134.335, df =110, p-value = 0.0573, CFI = 0.990, RMSEA = 0.024 และ SRMR= 0.033 แสดงให้เห็นว่าการปรับแก้โมเดล เพื่อให้มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยวิธีการดังกล่าวได้ผลค่อนข้างดี และไม่เป็นการแก้ไขแนวคิดและทฤษฏีที่ใช้ในการวิจัย

Article Details

How to Cite
นันทธีรพัฒน์ ร. ., & เผ่าพันธ์ ณ. (2020). แบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจการขายและบริการเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ ในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2254–2270. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/242544
บท
บทความวิจัย

References

Gill, A., & Biger, N. (2013). The Impact of Corporate Governance on Working Capital Management Efficiency of American Manufacturing Firms. Managerial Finance, 39, 116-132.

Amarjit, G. et al. (2010). Implication of Working Capital Management Policy, Firm’s size and Financial Leverage on Financial Performance. European Journal of Business and Innovation Research, 3(5), 1-12.

Asghar, A., & Syed, A. A. (2012). Working Capital Management: Is It Really Affects the Profitability? Evidence from Pakistan. Global Journal of Management and Business, 12(17), 74-78.

Biger, N., Nguyen, N. V., & Hoang, Q. X. (2008). The determinants of capital structure: Evidence from Vietnam. International Finance Review, 8, 307-326.

Onaolapo, O., & Onaolapo, K. (2010). Capital Structure and Firm Performance: Evidence from Nigeria. European Journal of Economics, Finance and Administrative Sciences, 25, 70-82.

Roquebert, P., Westfall, S., & Zaralis. (2013). Corporate Performance Interpretation and Measuring Problem. New York: Swinger International.

Afza, T., & Hussain, A. (2011). Determinants of Capital Structure: A Case Study of Automobile Sector of Pakistan. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 2(10), 219-230.

U-on, W. (2010). Research and Searching For Business Data. Bangkok: Sripatum University.

Bei, Z., & Wijewardana. (2012). Working Capital Policy Practice. Evidence from Sri Lankan Companies. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 40, 695-700.

Al-Qaisi, K. (2010). The Capital Structure Choice of Listed Firms on Two Stock Markets and One Country. The Business Review, Cambridge, 16(2), 155-160.