การวิเคราะห์หลักพุทธิปัญญาในพระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาความเชื่อในอำนาจตนของมนุษย์

Main Article Content

ประสิทธิ์ กุลบุญมา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อในอำนาจตนตามทฤษฎีตะวันตก และ วิเคราะห์หลักพุทธิปัญญาในพระพุทธศาสนาในการพัฒนาความเชื่อในอำนาจตนของมนุษย์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสารด้วยการศึกษาและรวบข้อมูลจากเอกสารเรียบเรียงและวิเคราะห์ตามหลักตรรกะและทฤษฎีปฏิบัตินิยม สังเคราะห์ให้ได้แนวคิดตามประเด็นการวิจัยในแต่ละวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดความเชื่อในอำนาจตนตามทฤษฎีตะวันตก มุ่งถึงความเชื่อในการควบคุมตน ความสามารถในการเชื่อมโยงเหตุและผลได้ และความสามารถในการควบคุมให้เกิดผลตามที่ต้องการได้ แนวคิดดังกล่าวถูกนำมาประยุกต์ในทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมโดยนักวิชาการชาวไทยคือ ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2) หลักพุทธิปัญญาในพระพุทธศาสนาในการพัฒนาความเชื่อในอำนาจตนของมนุษย์ พบว่า มีหลักการดังนี้ (1) การรับรู้ เข้าใจ และยอมรับสิ่งที่ตนเองเป็น (อัตตัญญุตา) โดยเฉพาะธรรมชาติของตนตามหลักจริต 6 (2) ความเข้าใจและยอมรับกฎธรรมชาติของชีวิตตามกฎไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท (3) การเรียนรู้การควบคุมตนด้วยการรำลึกถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าต่อมาร, การตระหนักรู้ถึงศักยภาพในความเป็นมนุษย์ในฐานะสัตว์ประเสริฐที่พัฒนาได้ และ (4) ใช้หลักปัญญาพัฒนาอำนาจภายในตนที่สำคัญของมนุษย์ องค์ความรู้วิจัยพุทธิปัญญาเพื่อพัฒนาความเชื่อในอำนาจตนของมนุษย์ ได้รูปแบบ อัตตทันตปัญญา หมายถึง พลังปัญญาควบคุมตน 5 ข้อ ได้แก่ อตฺตญฺญุตา (รู้ตน), อตฺตนา โจทยตฺตานํ (เตือนตน), อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย (ควบคุมตน), ทนฺโต เสฏโฐ มนุสฺเสสุ (พัฒนาตน)  และ ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต (พัฒนาปัญญาตน)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhanthumnavin, D. (1981). Behavioral Science 2: Ethical and Educational Psychology. Bangkok: Thaiwattanapanit.

_______. (1995). Ethical Tree Theory: Research and Human Development. Bangkok: National Institute of Development Administration.

_______. (2000). Research in Psycho-Behavioral Sciences in Thailand. Journal of Research Methodology. 13(3), 25-48.

_______. (1984). Self-discipline psychology. Journal of Guidance. 18(91), 58-71.

_______. (1994). The Ethics of Tree Theory and Working Behavior of Thai Civil Servants. Journal of Psychology. 1(1), 81-98.

_______. (1996). The use of products from psycho-behavioral research for Thai development. Journal of Psychology. 3(2), 46-60.

Crandall, V. C., Katkovsky, W., & Crandall, V. J. (1965). Children’s beliefs in their own control of reinforcements in intellectual-academic achievement situations. Child Development. 36, 91-109.

Dharmrakkhita. (1994). Buddhism as The Religion of Wisdom. Bangkok: The House of Letters.

Eisenman, R., & Platt, J. J. (1968). Birth order and sex differences in academic achievement and internal-external control. Journal of General Psychology. 78, 279-285.

Inthasara, W. (2001). Self-reliance. Bangkok: Ruean Tham.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1994). Pali Tipitakas. Bangkok: MCU Press.

_______. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.

Napoleon Hill. (1998). Laws of Success 1. Translated by Prach-Arsa. (7th edit). Bangkok: Saisongsueksit.

Phra Buddhakosathera. (2011). The Path of Purification (Vissuddhimagga). (10th edit). Translated by Somdet Phrabuddhacarya (Aj Asabhamahathera). Bangkok: Tana Press.

Phra Dhammapitaka (P. A. Payutto). (1996). The Characteristics of Buddhism. (4th edit). Bangkok: Khledthai.

Phrabrahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2010). Buddhadhamma (extended version). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya.

Rotter, J. (1966) ‘Generalized expectancies for internal versus external control of reinforcement’, Psychological Monographs. 80(1), 1–28)

Somdet Phrabuddhakosacarya (P. A. Payutto). (2016). Dictionary of Buddhism. (38th edit). Bangkok: Plitham.

Strickland, B.R. (1977). Personality Variables in Social Behavior. New York: John Wiley and Sons.

Suthiranont, W. (1985). Buddhist Teaching Documents. Bangkok: Phrae Wittaya.

Buddhadasa Bhikkhu. (1992). Paticcasamuppada : Practical Dependent Origination. Nonthaburi: Vuddhidhamma Fund.

Panyapa, R. (2016). The Concept of Egotism as the Cause of Conflict in Thai Society: The Buddhist View. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University. 7(2), 115-125.