การขับเคลื่อนเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงภายใต้เศรษฐกิจชุมชนแบบพอเพียง: พื้นที่ต้นแบบอําเภองาว

Main Article Content

ส่งเสริม แสงทอง
พัลลภ หารุคำจา
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพอเพียงที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธ์บนที่สูง (2) ติดตามการดำเนินงานของเครือข่ายพระนักพัฒนากลุ่มชาติพันธ์บนที่สูง (3) วิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนากลุ่มชาติพันธ์บนที่สูง (4) สังเคราะห์องค์ความรู้ของพื้นที่ต้นแบบ ในการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพอเพียง เป็นงานวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอเนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลของวิจัยพบว่า 1. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพอเพียงของพระนักพัฒนาได้แก่หลักของความสุขของคฤหัสถ์ หลักการพึ่งตนเอง หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ และหลักโภควิภาค 2. ผลการการดำเนินงานของพระนักพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาอธิบายให้กับชาวบ้านในชุมชนให้เข้าใจและนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและสร้างเครือข่ายในชุมชน 3. วิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนา ตามแนวคิดทฤษฎีบทบาทพระสงฆ์ในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาสังคม โดยใช้หลักปาปณิกธรรม และหลักพละธรรม แนวคิดการสร้างเครือข่าย ทฤษฎีการพัฒนาชุมชน แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระพุทธศาสนา และ 4. สังเคราะห์องค์ความรู้พื้นที่ต้นแบบเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพอเพียงของกลุ่มชาติพันธ์บนพื้นที่สูงด้วยวงล้อพระธรรมจักรทั้ง 6 แกนคือ (1) หลักพุทธธรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง (2) การถ่ายทอดหลักธรรม (3) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นที่สูง (4) เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองแบบพอเพียงบนพื้นที่สูง (5) คุณภาพชีวิตของชุมชนบนพื้นที่สูง และ (6) รูปแบบของเครือข่ายพระนักพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chamrick, S. (1998). Sufficiency economy in globalization. Bangkok: national human rights Commission.

Kimpee, P. (1997). development of a non - formal education network for community self – reliance. Bangkok: Chulalongkorn university.

Lapthananon. P. (1984). Buddhist monks in the northeastern region and their development based on self – sufficiency principles. Bangkok: department of sociology and anthropology graduate school Chulalongkorn university.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Na Bangchang, S. (1984). Application of Buddhism to Rural Development. Bangkok: Chulalongkorn University.

Pantansen, A. (2006). Buddhist economics: the evolution of theory and applications to various economics. Bangkok: Ammarin printing.

Phra Dhammapitaka. (P.A. Payutto). (1996). Dharmma and life development. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.

Phra Rajaworamuni. (1984). new roles of monastic institutions. Bangkok: Komol Khemthong Foundation.

Phramaha Suthit Apakaro, (2005). network: nature, knowledge and management. Bangkok: project for strengthening learning for a happy community (Sor Sor Sor.)

Pilunthananon, N. (1983). Future science. Bangkok: Pimluck.

Preedasawat, P. (1987). Self-health care social and cultural perspectives. Nakhonpathom: study center public health policy, Mahidol university.

Wassi, P. (1998). national strategy for economic strength society and culture. Bangkok: doctor. Villagers.

Welfare coordination group for highland communities, (2018). department of social development and welfare. ministry of social development and human security.

Wongkul, P. (1998). editor. Thammarat: the turning point in Thailand. Bangkok: way of life Project.