หลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตอาสาสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Main Article Content

บุญญา ตุลยกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำเชิงจิตอาสาสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรและประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำเชิงจิตอาสาสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3) เพื่อปรับปรุงหลักสูตรและประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำเชิงจิตอาสาสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  ประชากร คือ นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดภาวะผู้นำเชิงจิตอาสา 2) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Samples t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตอาสาสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกอบด้วยเนื้อหา 10 องค์ประกอบจัดเป็น 4 โมดูล คือ โมดูลที่ 1 ประโยชน์เพื่อส่วนรวม โมดูลที่ 2 ทักษะความเป็นผู้นำ โมดูลที่ 3 ความรับผิดชอบต่อสังคม และโมดูลที่ 4 จิตสำนึก 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเชิงจิตอาสา พบว่า 2.1) หลังจากฝึกอบรมภาวะผู้นำเชิงจิตอาสา มีภาวะผู้นำเชิงจิตอาสาของนักศึกษาหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2.2) ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) มีการปรับปรุงหลักสูตร
คือ 3.1) ปรับเนื้อหาและให้สอดคล้องกับกิจกรรมและสัมพันธ์กับเวลาในการฝึกอบรม 3.2) เน้นในส่วนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นกิจกรรมนอกพื้นที่ โดยเพิ่มเวลาให้มากขึ้นในการจัดกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kajornsilpa, S. (1995). New dimensions of student affairs 1: Fundamentals and Student Services. Bangkok: Kasem Bundit University.

Watthanachai, K. (1996). Concepts in promoting student activities. Chiang mai: Chiang Mai University.

Mano, K. (2010). Meaning of life and volunteering. Thesis Master of Science. Psychology Faculty of Humanities: Chiang Mai University.

Ngamwittayaphong, O. (2005). Creating spiritual wellness through volunteer work. Journal of the Graduate School Thammasat University volunteers: 1-2.

Rattanamook, S. (2009). Bundit Arsa Road: 40 years, Bureau of Graduate Studies. Bangkok: Office of the Graduate Studies Thammasat University.

Sarnakose, W. (2009). Summary of the 2009 National Academin Confernce on the year of Thai Higher Educaton Quality: Educational roles and social development Public responsibility. Morality, ethics. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.

Wirangkorn, J. (2006). One corner of the idea to raise awareness for the general public in the Document. Accompaning the annual academic conference network of higher education institutions in the central region to develop Thai ideal graduates on 25-26 August 2006 at Pridi Banomyong Meeting Room Dhurakij Pundit University.