การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

พร้อมภัค บึงบัว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 2) ศึกษาระดับความคาดหวังทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับความคาดหวังส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่กำลังศึกษาในกลุ่มการเรียนพิเศษ (วิทย์-คณิต) ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในปัจจุบันและความคาดหวังทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความคาดหวังทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .710 ถึง .830 โดยขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหาและขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหามีความสัมพันธ์ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกและบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jaigla, P., Maliwan, S., Supave, M. & Chai-ngam, R. (2018). The Development in the 21st Century learning skills for students in academic group at Chiang Yuan Pittayakom School with Problem-based Learning. The 14th Mahasarakham University Research Conference "50 years Mahasarakham University: Public Devotion is a Virtue of the Learned". Mahasarakham: Mahasarakham University, 226-234.

Khwana, T. & Khwana, K. (2019). The Instruction to promote Learning Skills in 21st Century. Sakon Nakhon Graduate Studies Journal, 16(73), 1-12.

Liamsang, R. & Chatruprachewin, C. (2018). Administrational Strategies for STEM Education of Secondary School Under the Office of the Basic Education Commission. Silpakorn Educational Research Journal, 10(2), 379-393.

NGSS Lead States. (2013). Next generation science standards: For states, by states. Washington, DC: The National Academies Press.

Panit, W. (2012). Learning paths for students in the 21st century. Bangkok: SotSri-Saritwong Foundation.

Pruettikul, S. (2012). Quality of Students Derived from Active Learning Process. Journal of Educational Administration Burapha University, 6(2), 1-13.

Srichantha, S., Roongsattham, P. & Wichai, P. (2019). STEM Education with Learning Management. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 6(1), 157-178.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2016). STEM Education Thailand. Retrieved February, 3, 2020 from http://www.stemedthailand.org

Thummatasananon, S. (2019). Developing the Administration Model on STEM Education for Schools under the Office of the Secondary Education Service Area 25. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 24(2), 237-250.