วาทกรรมทางสังคมในวรรณกรรมลาวร่วมสมัยเรื่อง สายน้ำที่ไหลกลับ

Main Article Content

ปียกนิษฐ์ สาธารณ์
ราชันย์ นิลวรรณาภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวาทกรรมทางสังคมในวรรณกรรมลาวร่วมสมัย เป็นการวิเคราะห์วาทกรรมและนัยยะทางสังคม โดยศึกษาวรรณกรรมเรื่อง “สายน้ำที่ไหลกลับ” ฉบับภาษาลาวของพอนสะหวัน พันทะวีจิด ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2015 ผ่านแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมของฟูโกต์ ผลการศึกษาพบวาทกรรมทางสังคมจำนวนสามวาทกรรม ได้แก่ วาทกรรมบริโภคนิยม วาทกรรมอนุรักษ์นิยม และวาทกรรมชาตินิยม ทั้งนี้วาทกรรมบริโภคนิยมที่พบ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเด็นคือ วาทกรรมบริโภคนิยมกับการจำแนกชนชั้น และวาทกรรมบริโภคนิยมกับแบบแผนการดำเนินชีวิต อำนาจของวาทกรรมดังกล่าวส่งผลให้ตัวละครตกเป็นทาสของวัตถุนิยม ขณะที่วาทกกรรมอนุรักษ์นิยมถูกนำเสนอในรูปแบบของขั้วตรงกันข้ามระหว่างตัวละครที่มีพฤติกรรมของการอนุรักษ์วัฒนธรรมลาวและตัวละครที่ต่อต้านวัฒนธรรมลาวซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเด็นคือ วาทกรรมอนุรักษ์นิยมผ่านเครื่องแต่งกายและวาทกรรมอนุรักษ์นิยมผ่านที่อยู่อาศัย และวาทกรรมชาตินิยมที่พบคือ วาทกรรมชาตินิยมผ่านลักษณะความเป็นชาติลาวและวาทกรรมชาตินิยมผ่านการเป็นพนักงานของรัฐ วาทกรรมชาตินิยมนี้เป็นชุดความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในความเป็นชาติลาว จากวาทกกรรมข้างต้นเห็นได้ว่าผู้เขียนใช้วรรณกรรมเป็นสื่อกลางเพื่อถ่ายทอดนโยบายจากรัฐสู่ประชาชนเพื่อประกอบสร้างสังคมลาวใหม่ในด้านวัฒนธรรม ความเท่าเทียมกันในสังคม และส่งเสริมให้คนลาวทำงานรับใช้ชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonmee, T. (2008). Michel Foucault. Bangkok: Kledthai.

Charoensinolan, C. (2011). Development Discourse power knowledge truth identity and Otherness. (5nd ed.). Bangkok: Viphasa.

Foucault, M. (1972). The Archaeology of knowledge. New York: Pantheon Books.

Phengphachanh, P. (2008). The Revitalization of Palm Leaf Manuscript in Renovation Era of Lao People Democratic Republic. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Phanthavijid, P. (2015). Saynamteelaiklab. Vientiane: The National Committee.

Preedakorn, P., & Wongsuwan, N. (2009). Sufficiency Economy: Opening of the Social Space with Discourse Analysis. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 29(3), 219-236.

Puttichote, A. (2004). Relations between educational and economic development policies under the Lao PDR” s “new thinking” 1986-2000. Khonkaen: Klungnana vitthaya press.

Nakhone Luang Vientiane. (2010). Nakhone Luang Vientiane 450 years. Vientiane: Nakhone Luang Vientiane Printing.

Phothisan, S. (2000). Laos History: Ancient-Present. Vientiane: Ministry of news report and culture.

The Central Committee of Lao Front for National Construction. (2011). The Documents of the 7th Conference of Nationwide Representatives of the Lao Front for National Construction. Vientiane: State Printing House Vientiane, Laos.

Tularak, U. (2007). Women in Contemporary Lao Literature after National and Democratic Revolution in 1975. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Wongchanta, W. (2012). Consructing “Laoness” in Contemporary Work and Films. (Master’s Thesis). Graduate School: Chulalongkorn University. Bangkok.