กระบวนการพัฒนาผู้นำสตรีด้านจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิง ศึกษากรณีตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

จิตรา แสงวัฒนาฤกษ์
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับศักยภาพการทำงานของผู้นำสตรีจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิงของตำบลสวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาผู้นำสตรีจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิงโดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้นำสตรีจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงวัยที่ภาวะพึ่งพึ่งของตำบลสวาย  อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 23 คน วิเคราะห์ข้อมูล ตีความ ออกแบบและสร้างกระบวนการพัฒนาผู้นำสตรีจิตอาสา ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาผู้นำสตรีด้านจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิงมาจากสภาพทางกาย สภาพทางจิตใจที่อ่อนไหวง่ายไม่เข้มแข็ง ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง  และขาดการยอมรับทางสังคม  

  2. กระบวนการพัฒนาผู้นำสตรีจิตอาสาใช้หลักการพัฒนาวงจรคุณภาพ 4 ขั้นตอน P (กำหนดสาเหตุของปัญหา) D (การปฏิบัติตามแผน) C (ตรวจสอบหาข้อผิดพลาด) A (ยอมรับการเปลี่ยนแปลง) และหลักพุทธสันติวิธี คือ สังคหวัตถุ 4 มีการให้  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละแบ่งปันช่วยเหลือ  การใช้วาจากล่าวคำสุภาพให้เกิดไมตรีและความรักความปรารถนาดีการขวนขวายช่วยเหลือสร้างประโยชน์สุขแก่คนอื่น  และการวางตนเหมาะสมเป็นกัลยาณมิตร

  3. การนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้นำสตรีจิตอาสา พบว่า หลักพุทธสันติวิธี คือ หลักสังคหวัตถุ 4 ช่วยพัฒนาความรู้สึกร่วมและพัฒนาความคิดจิตใจให้มีความเข้มแข็ง รู้จักการให้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยิ้มแย้มแจ่มใส


 วาจาสุภาพ วางตนเหมาะสม ทำให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การระดมสมอง สร้างจิตสำนึก ลงมือปฏิบัติและร่วมกันรับผิดชอบโดยมีสติเป็นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arecheewarangạbrogh, S. (2004). Practical PDCA solve problems and improve for Success. Bangkok: Sino Design.

Areeya, K. (1984). The preferred pattern of Thai women.Long-term Planning Working Group. (n.d.).

Chayowan, N. (2002). Elderly population in Thailand. Bangkok: National Statistical Office.

Chaisopha, S. (2020). Women leaders in volunteerism. Interview. January, 23.

Chimpinit, M. (2020). Women leaders in volunteerism. Interview. January, 23.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2015). Situation of the Thai Elderly 2015. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

National Committee for Promotion and Coordination of Women. (1994). Long-term women policy and master plan (1992 - 2011). Office of the Permanent Secretary.

Panpetch, S. (2007). Application of Buddhist principles and way of life of communities. Independent research report. Bangkok: Graduate Business University.

Phra Dharmakosajan. (2006). Buddhist management methods. Bangkok: Printing house Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (2003). Buddhism Dictionary Edition Compile dhamma.

Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (2005). Dictionary of Buddhism. 13th edition. Bangkok: S. R. Printing Ltd., Part.

Sisaket Statistical Office. (2018). Situation of the elderly in Sisaket 2018. Retrieved November 3, 2019, from http://Sosisaket.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=503:-2561&catid=105:2012-01-09-07-07-49Itemid.

Suchanan, J. (2011). Lifelong Education and Community Development. Bangkok: O.A. Printing House.

Somdet Phramaha Vīravong (Pim Dhammadharo). (1985). Auspicious of top life; Complete version. Bangkok: Thammasapa Press.

Sangsri, S. (1998). The role of Thai women in rural areas in providing lifelong education. Research report. Research and Development Institute Sukhothai Thammathirat Open University.

TanJariyaporn, P. (2000). The process of developing women in Thailand: concepts and policies. (n.p.).

Udomthanathira, K. (2020). Retrieved January 18, 2020, from https://www.iok2u.com/index.php/article/innovation/240-pdca-cycle-deming-cycle