พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์

Main Article Content

กุญช์พสิฏฐ์ เสาะหายิ่ง
กาญจนา พนมรัมย์
กาญจนา ราดด่านจาก
กุณฑิกา ด่านกระโทก
ณัฐกานต์ พลศรี
คมวัฒน์ รุ่งเรือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลเมือง สุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ โดยบวชมาแล้ว 2 พรรษาขึ้นไป มีจำนวน 129 รูป ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 5 ด้าน จำนวน 45 ข้อ มีความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 82.20 (gif.latex?\bar{x} = 3.21, S.D.= 0.52) และเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์รายด้าน พบว่า 1. ด้านโภชนาการ อยู่ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 72.10 (gif.latex?\bar{x} = 3.01, S.D.= 0.50) 2. ด้านการบริหารกาย อยู่ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 49.60 (gif.latex?\bar{x} = 2.83, S.D. = 0.74) 3. ด้านการจัดการความเครียด อยู่ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 53.50 (gif.latex?\bar{x} = 3.43, S.D.= 0.51) 4. ด้านสุขอนามัย อยู่ในระดับดี ร้อยละ 44.20 (gif.latex?\bar{x} = 3.84, S.D.= 0.79) และ 5. ด้านอบายมุข อยู่ในระดับดี ร้อยละ 81.40 (gif.latex?\bar{x} = 3.75, S.D.= 0.34)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2017). Annual epidemiological surveillance report 2015. Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand (E.T.O.).

Houngmitr, C., Titinuntiwat, N., & Kumtub, A. (2017). The Model for Health Promotion Behavior Improvement of Buddhist Monk Network in Nakhon Sawan Municipality. Nakhon Sawan: Office of Disease Prevention and Control 3 Nakhon Sawan Province Ministry of Public Health.

Longchareon, W. (2014). Health Behavior of Buddhist monks in Amphoe Muang, Chanthaburi Province. (Master’s Thesis ). Graduate School: Burapha University. Chanthaburi.

Onto, P., Rudtanasudjatum, K., Tanvatanakul, V., & Sangjun. S. Behavior Relationship between Eating Habits and Monastic Life Practices. Journal of MCU Peace Studies, 7(2), 348-363.

Phra Pipat Apiwatthano. (2011). A Analytical Study of Buddhist Monks’ Health Care Behavior in Phrae Province. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Souksavanh Boutkhamuan. (2016). Self Health Care of Monks in Dusit District, Bangkok Metropolis. (Master’s Thesis). Graduate School: Thammasat University. Bangkok.

Phra Suttipot Suddhivajano. (2013). The Health Behaviour of Monks in Phangkhon District, Sakonnakhon Province. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Pitakphupa, S. (2017). Factors related the health behavior of monks in food consumption. Trang: Sirindhorn College of Public Health, Trang.

Surin Provincial Public Health Office. (2017). Report of the health examination program for novices and monks in Surin Province in 2016. Retrieved May 3, 2018, from http://www.svcomsanom.com/archives/3824.

Sutsuk, U. (2011). Health Care in Tipitaka: Integration for Health & Life Quality. (2nd Ed.). Bangkok: Phim khrang.