แนวทางการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัด ในอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พระครูอุดรภาวนาคุณ สจฺจาสโภ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธในพระพุทธศาสนา
2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ


          ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธพบว่า วัดป่าภูก้อน มีปัญหา 6 ด้าน คือ  1) ด้านสถานที่ ที่พักสำหรับรองรับการปฏิบัติธรรมไม่เพียงพอ  2) ด้านบุคคล ยังขาดล่ามแปลภาษา 3) ด้านการพัฒนาวัด ภูมิทัศน์ในรูปแบบท่องเที่ยวเชิงพุทธ 4) ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จิตสำนึกรู้คุณของธรรมชาติ
5) ด้านการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอ 6) ด้านการอำนวยความสะดวก การคมนาคมที่สะดวก สถานที่จอดรถยนต์มากขึ้น วัดป่านาคำน้อย มีปัญหา 2 ด้าน คือ  1) ด้านการจัดการเรื่องถังขยะ การทิ้งขยะ
ไม่แยกขยะ 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ ควรมีการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ


          แนวทางการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี มี 6 ด้าน
คือ 1) ด้านสถานที่ ป้ายสัญลักษณ์ที่ชัดเจนในเส้นทางการเดินทาง การปรับภูมิทัศน์และที่พักเรือนปฏิบัติธรรม 2) ด้านบุคคล บุคลากรที่มีความรู้และล่ามแปลหลายภาษา 3) ด้านการพัฒนาวัด ความเป็นสัปปายะของวัด
4) ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5) ด้านการท่องเที่ยว การขยายฐาน
การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 6) ด้านอำนวยความสะดวก การคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น

Article Details

How to Cite
สจฺจาสโภ พ. . (2020). แนวทางการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัด ในอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(3), 1024–1037. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/241098
บท
บทความวิจัย

References

Dallen J. Timothy and Daniel H. Olsen. (2006). Tourism, Religion & Spiritual Journeys. Abingdon, Oxon: Routledge.

Hinsui, J. & Momgkolsrisawat, S. (2014). Guidelines for promotion of Buddhist Tourism: A case study of Prachakumwanaram temple, Srisomdet, Roi-et Province. International Thai Tourism Journal, 10(1), 50-58.

Naipinit, A. (2013). The Study Potentiality Approaches in Religion Tourism of “Roi Kaen Sarn Sin” Cluster Provinces. Panyapiwat Journal, 5(1), 31-40.

Phrukru Puttipong Aphijato. (2019). Abbot Wat Pa Phukon. Interview, October, 12.

Sungchoey, T. (2007). Tourism & Hospitality Industry. Phetchaburi: Silpakorn University.

Thuodam, N. & Pinputtasilpa, S. (2007). The Museum Management System of The Site An Archaeological Site is A Sustainable Cultural Attraction. Phuket: Phuket Rajabhat University.