รูปแบบการสร้างจิตอาสาเชิงพุทธของเยาวชนจิตอาสาบ้านหนองบั่วในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงทำเล-ดอนใหญ่ ตำบลช้างเผือก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ปัญญา เสนภูงา
พระมหามิตร ฐิตปญโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอุดมการณ์ของกลุ่มเยาวชนจิตอาสาบ้านหนองบั่วในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงทำเล-ดอนใหญ่ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างจิตอาสาของเยาวชนบ้านหนองบั่วในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงทำเล-ดอนใหญ่ 3) เพื่อส่งเสริมรูปแบบการสร้างจิตอาสาเชิงพุทธของเยาวชนจิตอาสาบ้านหนองบั่วในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงทำเล-ดอนใหญ่ ทำการศึกษาในพื้นที่ ตำบลช้างเผือก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูล
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า


  1. กลุ่มเยาวชนจิตอาสาบ้านหนองบัวในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงทำเล-ดอนใหญ่ พบว่ากลุ่มเยาวชนจิตอาสามีอุดมการณ์ มีการรวมตัวของกลุ่มขึ้นจากการอบรมและการปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อปกป้อง อนุรักษ์และพิทักษ์รักษาป่าไม้บ้านหนองบั่วให้รอดพ้นจากการลักลอบตัดไม้พะยูงในชุมชนที่ตนอาศัย

  2. รูปแบบการสร้างจิตอาสาของเยาวชนบ้านหนองบั่วในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงทำเล-ดอนใหญ่ พบว่าเป็นการอบรมและสร้างจิตสำนึก ที่มากไปกว่านั้นมีการสร้างเครือข่ายในการฟื้นฟูป่าไม้ของเยาวชนบ้านหนองบั่วนอกจากนั้นยังมีการการบวชป่าเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางความเชื่อในพระศาสนาที่จะช่วยคุ้มครองป่าได้

  3. ส่งเสริมรูปแบบการสร้างจิตอาสาเชิงพุทธของเยาวชนจิตอาสาบ้านหนองบั่วในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงทำเล-ดอนใหญ่ พบว่า รูปแบบนั้นจะต้องเน้นไปที่การสร้างกลุ่มคนร่วมอุดมการณ์ในภาคีเครือข่ายเพื่อฟื้นฟูป่าไม้ให้กับสู่ชุมชน และสร้างกลุ่มจิตอาสาเชิงพุทธให้กับเยาวชนด้วยการนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, A. (1986). Perceived self-efficacy in cognitive development and unctioning. Educational Psychologist, 28(2), 117-148.

Green Globe Institute. (2015 - 2016). Inheriting the aspiration of the sufficiency way of sharing, bonding the soil, water, forest, including the 17th Green Globe Award. Bangkok: Sunthorn Film Company Limited.

Madhu, R. (1996). Encychopadic of Psychology and Education. New Delhi: Prentice-Hall.

Nitatpattana, K. (1998). Evaluation of a Screening Test for Pulmonary Tuberculosis Among Prisoners in a Bangkok Metropolitan Prison. Thesis Master of Science (Infectious Diseases). Graduate School: Mahidol University.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2012-2016). National Economic and Social Development Board. National Economic and Social Development Plan 11th.

Phra Sangjun Thitasaro (Leksri). (2016). An Application of Buddhadhamma in The Volunteer Spilitual Works of Nongbua people, Changphuak Sub-district Suvanabhumi District, Roi-et Province. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Saengkaew, W. (2010). Developing a core of volunteerism for AIDS prevention to lead to sustainability. Thesis Master of Arts (social work). Graduate School: Thammasat University.

Smith., C. (1992). The Antecedents of Self-esteem. (2nd ed.). Palo Alto. California: Consulting Psychologist Press.

Sorawisoot, P. (2009). Motivation of youth leaders with volunteer spirit on social activities: a case study of Bangkok Metropolitan Youth Council. Thesis Master of Education. Graduate School: Thammasat University.

Sriboribun, N. (2007). Development of a causal model of students' volunteer mind in the upper secondary schools under the Office of the Basic Education Commission. Thesis Master of Education. Graduate School: Chulalongkorn University.

Sutthirat., C. (1991). Teach Children to have Public mind. Bangkok: Vee print. Tosi & Carroll, S.J. (1982). Management. (2nd ed.) New York: John Wiley & sons.

Tucker, W. J. (2009). Public Mindedness an aspect of Citizenship Considered. New York: Bilio Life.

Wanchaithanawong, W. (2008). Evaluation of Spirit Volunteering Project for Nursing Skills Enhancement among Nursing Student. Borommarajonani Nursing College: Chiang Mai.

Willer, D., (1986). Scientific Sociology: Theory and Method. Englewood Cliff, NJ: Prentice - Hall.