วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์และพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ธัญญาภรณ์ โตขำนาญวิทย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์  3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และพระพุทธศาสนาเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร มุ่งรวบรวมศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่งทั้งเอกสารขั้นปฐมภูมิ และ ขั้นทุติยภูมิ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหานำเสนอเชิงพรรณนา
        ผลการวิจัยพบว่า
1.พระพุทธศาสนามีมุมมองแตกต่างเกี่ยวกับระบบชนชั้นวรรณะที่ว่าด้วยพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร และจัณฑาลโดยสร้างความเท่าเทียมกันด้วยเบญจศีล เบญจธรรมและกุศลกรรมบถ พร้อมทั้งให้ยึดหลักกรรมโดยเน้นที่การกระทำ


  1. 2. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ต่อต้านการเหยียดสีผิวที่มาสู่ความเกลียดชังกัน โดยเรียกร้องอิสรภาพและเป็นแรงบันดาลใจสู่ความเท่าเทียม เป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำผ่านสุนทรพจน์ “ฉันมีความฝัน” โดยมีแนวทางตามหลักอหิงสา คือ การฝึกและบังคับใจไม่ยอมให้มีการทำร้ายหรือแก้แค้นผู้ใด และสัตยาเคราะห์ หรือพลังแห่งสัจจะการดื้อเพ่ง ไม่มีความเกลียดชัง มีความอดทน

  2. 3. วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นในมุมมองของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และ พระพุทธศาสนาเมื่อสังคมเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งไม่เท่าเทียมกันจำเป็นต้องใช้แนวทางแห่งสันติวิธี คือ การสร้างความรัก เว้นจากการเบียดเบียนกัน เคารพสิทธิ ให้เกียรติ ไม่ว่าร้าย ให้ปัญญาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ เน้นความสามัคคีอยู่ในวิถีแห่งกุศลกรรมบถ เพื่อเป็นเครื่องสะท้อนความดีความชั่ว และสะท้อนวิถีสันติภาพ 3 ด้าน คือสันติภาพทางกาย ทางวาจาและทางใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaibangyang, P. (2003). Thammathibai Book 1. Bangkok: Tipvisit Press.

Christopher, M. (1996). The Mediation Process: Practical Strategic for Resolving Conflict. (2nd ed.). San Francisco. CA: Jossey-Bass Publishers.

Gandhi, M. (1948). Non-Violence in peace & War, (Vol. 1). Ahmedabad: Navajivan publishing House.

Mabbett, I. (1998). Buddhism and freedom. New York: Cambridge University Press.

Mclean, A. (2008). Martin Luther King. United Kingdom: Oxford University Press.

Mahachulalongkorn University. (1996). Thai Tripitikas. Bangkok: MCU Press.

National Archives, (1963). I have a dream. Retrieved January 29, 2019, from https://www.archives.gov/files/press/exhibits/dream-speech.pdf

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto.) (2004). Buddha Dhamma. Bangkok: MCU Press.

Panuwat, W. (2014). Nelson Mandela. Bangkok: Saengdao Press, preface.

Phramaha Hansa Dhammahāso, (2016). Peace Studies: The Buddhist Path to World peace. Journal of MCU peace Studies, 4 (sp1),1-9

Phramaha Duangden Thitañāṇo et al. (2018). Philisophy of Conflicts. Journal of Mcu Peace Studies. 6(1), 284-292

Yothiko, Y. (2016). The Buddha’s Altruistic Treatment toward the lower class. Journal of Dhammatat,16(3),122-131.

Tochamnanvit, T. (2017). A comparative Study of Equality Building Model Between Martin LutherKing, Jr., and Four castes of the Buddha. Oxford Symposium on Religious Studies, 2nd. Oxford, United Kingdom: St Hilda College University of Oxford

V.Vajiramedhi. (N/A). Think, Write, Change world. ChaingRai: Raicherntawan.

V.Vajiramedhi. (2013). Peace Buddhism. Retrieved January 29, 2019, from https://www.youtube.com/watch?v=IYO2LxQTCdo&list=ULIYO2LxQTCdo&index=681

Wikipedia. (2020). Retrieved January 2, 2019, from https://th.wikipedia.org/wiki/..........A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C