วิกฤตครอบครัวในสังคมไทย: ศึกษาและเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขตามหลักฆราวาสธรรม

Main Article Content

ปิ่นทิพย์ มโนสุจริตธรรม
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคการอยู่ร่วมกันในครอบครัว 2) เพื่อวิเคราะห์หลักฆราวาสธรรมจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักฆราวาสธรรมเพื่อเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสำรวจเอกสารการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 19 รูป/คน และสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 7 รูป/คน ในเขตพื้นที่ภาคกลาง  ผลการศึกษาพบว่า


1) สภาพปัญหาและอุปสรรคครอบครัวไทยในปัจจุบันคือ มีความเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ
ขาดความเคารพยำเกรง ไม่เห็นบุญคุณของผู้ที่มีพระคุณ ไม่เชื่อในกฎแห่งกรรมที่ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดความซื่อสัตย์ ขาดการข่มใจควบคุมอารมณ์ ขาดความอดทนอดกลั้น และขาดการเสียสละแบ่งปัน  ครอบครัวในสังคมไทยโดยภาพรวมจึงต้องเผชิญกับปัญหาการหย่าร้างมากขึ้น เนื่องจากความกดดันทางเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย


2) หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท มี 4 อย่าง คือ (1) สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกัน
(2) ทมะ การฝึกตน (3) ขันติ ความอดทนอดกลั้น (4) จาคะ การเสียสละแบ่งปันและการมีน้ำใจ เป็นหลักธรรมโดยตรงของฆราวาสผู้อยู่ครองเรือน  และเป็นหลักธรรมช่วยควบคุมให้บุคคลมีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกัน ทำให้ชีวิตคู่ของผู้ครองเรือนมีความสงบสุขราบรื่น


3) ส่วนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขตามหลักฆราวาสธรรม เป็นการสร้างระบบที่ช่วยทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความสุขและครอบครัวมีความสันติสุขมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงและปัญหาครอบครัวด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดวิกฤตครอบครัว


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170

References

Chuimanee, S. ( 2 0 1 7 ) . A Study of Application of Four Garavasadhammas for the Householder of Spouse.Unpublished Master of Arts.Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Kongjan, W. (2 0 1 6 ). A Model for Strengthening Thai Families in the Integrated Buddhist Perspective. Dissertation Doctor of Philosophy (Buddhist Studies) . Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Promyoo, J. (2013). Understanding about Thai society. Bangkok: Odeon Store Publisher.

Phrakru nipasdhammāthimut. (2010). Family Conflict Solution Applied From Theravāda Buddhism Dhamma.Unpublished Master of Arts.Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai tripitaka. Bangkok: MCU Press.

Payutto, P.A. (2014). Buddhadhamma. (19th edition). Bangkok. MCU Press..

Saihoo, P. (2011). Social Mechanics. Bangkok: Chulalongkorn University, Thailand.

Sawatpanich, K. (1976). Family relations. Bangkok: Watana Panich Publishing Co.,Ltd.

Wannasiribhut, P. (2007). Family Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University.