การพัฒนากรอบสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาครู

Main Article Content

แพรวนภา เรียงริลา
ดนุลดา จามจุรี
มนตรี แย้มกสิกร
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากรอบสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาครู 2) พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาครู การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนากรอบสมรรถนะจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับรางวัลการสอนดีเด่น และระยะที่ 2 พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาครู โดยสร้างแบบประเมินในรูปแบบที่ใช้พฤติกรรมกำหนดระดับ (Behaviorally anchored rating scale: BARS) กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ครูที่ได้รับรางวัลการสอนดีเด่น โดยใช้วิธีการเลือกแบบลูกโซ่ จำนวน 10 คน 2) นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง


ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบสมรรถนะการประเมินการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาครูมีประกอบด้วย 4 สมรรถนะย่อย คือ (1) สมรรถนะด้านการเข้าใจผู้เรียน (2) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน (3) สมรรถนะด้านการประเมินผลผู้เรียน และ(4) สมรรถนะด้านจิตวิจัย 2) แบบประเมินการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาครู ประกอบด้วยเกณฑ์การให้คะแนนที่ใช้พฤติกรรมกำหนดระดับ 5 ระดับ และเกณฑ์การให้คะแนนแต่ระดับมีความเหมาะสมสอดคล้องกับระดับคุณภาพ มีค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน คือ นักศึกษาครู อาจารย์นิเทศก์ กับครูพี่เลี้ยง ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) =.849

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Asawasiphongthorn, K. (2007). State of training problems, teacher experience and development guidelines Experience in the teaching profession in a student's perspective Chandrakasem Rajabhat University. Journal of Khru Chantasan. 10(2), 64-70.

Darling - Hammond, L. (2000). Teacher quality and student achievement: A review of state policy evidence. Education Policy Analysis Archives. 8(1), 24-27.

Dejakup, P. (2008). Teacher competencies and guidelines for teacher development in a changing society. Bangkok: bureau of academic affairs and educational standards.

McClelland, D.C. (1975). A Competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber.

Office of Educational Administration Chiang Mai Rajabhat University. (2019). Teacher Profession Chiang Mai Rajabhat University. Retrieved February, 29, 2020 from http://tn-uriya.blogspot.com/p/1_14.html

Office of the Basic Education Commission. (2010). Teacher Competency Assessment Guide. Retrieved March, 24, 2020 from http://gpa.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf

Office of the Education Council. (2009). The research report on conditions, problems and solutions for teaching and learning that affect the quality of learner’s development in basic education. Bangkok: V.T.C. Communication.

Office of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission. (2006). Rules and methods of development Teacher civil service to have or advance to academic standing, special expertise, and expertise. Bangkok: Office of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission.

Thongchuea, S. & Sarataphan, N. (2014). Professional Experience Training Problems of Home Economics Education Student Teachers, Faculty of Education, Kasetsart University. Kasetsart Educational Review. 29(2), 193-201.

Thorndike, R. (2005). Measurement and Evaluation in Psychology and Education. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Wanichthanom, R. (2005). Competency applied for human resource management. Official Journal. 50(2), 21-28.