ทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พระปลัดประพจน์ สุปภาโต
พระมหาประกาศิต สิริเมโธ
ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชน
วัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ 12 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ


          ผลการวิจัยพบว่า 


          รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย 1) การจัดการทุนทางสังคมเพื่อนำต้นทุนส่วนรวมมาใช้ตามบริบทของชุมชน คือ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติ ทุนการเงิน ทุนภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2) กระบวนการจัดการทุนทางสังคมอย่างเป็นระบบ โดยผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา คนชุมชนมีจิตสำนึก ร่วมสร้างปฏิสัมพันธ์ มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง โดยใช้การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ใช้การต่อยอดจากรากฐานทุนทางสังคมและภูมิปัญญาของชุมชนนำไปสู่การพัฒนา ด้วยมิติด้านความสัมพันธ์ของคนในชุมชน มิติกิจกรรมและความร่วมมือ มิติด้านข่าวสารและการสื่อสาร มิติความสมานฉันท์ทางสังคม มิติด้านการมีอำนาจ มิติด้านกิจกรรมทางการเมือง 3) การขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนใน 6 ด้าน คือ ความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เครือข่ายความร่วมมือ และผู้นำที่มีศักยภาพ เพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม สร้างสมดุลของการพัฒนาเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Barbier, Edward B. Econonics. (1989). Natural-Resource Scarcity and Development. London: Earthscan Publications.

Chaisirin, S. (2018). Social capital in the planning process of Ban Moonkaew community Kusuman District Community Maha Sarakham Province. NRRU Community Research Journal,Vol.12 (special), 142-154.

Coleman, James S. (1988). Social Capital in the creation of Human Capital. In Social Capital a Multifaceted Perspective: Washington D.C.: World Bank.

Field, J. (2003). Social Capital. London: Routledge.

Luang-Ubol J. (2010). Effects of Social Capital on the Psychosocial Wellbeing Among Thai Adolescents in the Northeast Region of Thailand. Doctor of Philosophy (Population and Development School of Applied Statistics). National Institute of Development Administration: Bangkok.

Lamtrakul P. (2015). Strengthen social capital for sustainable urban development. Bangkok: National Research Council of Thailand.

Mackler, M. (2001). Influence on the Performance of Organizational Knowledge Transfer. Doctor’s Dissertation. Florida: Florida Atlantic University.

Office of the National Economic and Social Development Board (NESDB). (2016). The Eleventh National Economic and Social Development Plan (2017-2021): Bangkok.

Romerattanaphan W. (2006). Social Capital and Environmental Management Bangkok: Mistercopy: Bangkok.

Worms, J. (2009). Evaluating Social Capital as It Affects Community Development in the Favelas of Rio de Janeiro. Master's thesis. George Washington University: Washington D.C.

Woolcock, M. and Nayanan,D. (2000). Social Capital: Implications for Development Theory. Research Obserer.