กระบวนการที่พึงประสงค์ในการดำเนินคดีกับพระสงฆ์ในสังคมไทย

Main Article Content

สุรพงษ์ สิทธิกรณ์
พระราชปริยัติกวี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค การดำเนินคดี ของพระสงฆ์ตามกระบวนการศาลยุติธรรม 2) เพื่อศึกษาวิธีระงับอธิกรณ์ของพระสงฆ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการที่พึงประสงค์ในการดำเนินคดีกับพระสงฆ์ในสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 15 คน โดยจำแนกผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย พระสังฆาธิการ พระวินยาธิการ อัยการ ตำรวจ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี ทนายความ ผู้ต้องหา หรือจำเลย นักวิชาการด้านกฎหมายและนักวิชาการด้านพุทธศาสนา เครื่องมือวิจัยใช้การศึกษาข้อมูลทาง ด้านเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดสัมมนาทางวิชาการใช้กระบวนการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดย การตีความ ทำการสร้างข้อสรุป แบบอุปนัย การวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งได้จากการศึกษาเอกสาร โดยคำนึงถึงบริบท และใช้การเขียนข้อความแบบบรรยาย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) การดำเนินคดีกับพระสงฆ์ควรใช้หลักตามพระธรรมวินัยก่อน และหากพระสงฆ์ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อสึกแล้วควรใช้วิธีการดำเนินคดีเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ได้แสดงความบริสุทธิ์โดยยึดตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเป็นที่สุดตามพระธรรมวินัยที่ปรากฏในพระไตรปิฎกก่อน 2) การให้พระลาสิขาโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงฆ์ พุทธศักราช 2561 มาตรา 29 และ 30 ให้อำนาจพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ มีอำนาจจัดการให้พระสงฆ์รูปนั้นสละสมณะเพศได้ แม้ว่าพระสงฆ์รูปนั้นจะไม่อาบัติปาราชิกก็ตาม เป็นการให้อำนาจพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ มากกว่าที่พระธรรมวินัยกำหนดไว้ และ 3) กระบวนการดำเนินคดีพระสงฆ์ ควรมีผู้พิพากษาสมทบที่เป็นพระสงฆ์หรือผู้มีความรู้ด้านพุทธศาสนา ร่วมในการพิจารณาคดีด้วย เมื่อในที่สุดศาลสุดท้ายพิพากษายกฟ้อง พระสงฆ์ก็ยากที่จะได้รับการเยียวยา ให้กลับมาสู่สถานะเดิมได้ อันทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเสียหายต่อพระพุทธศาสนา

Article Details

How to Cite
สิทธิกรณ์ ส., & พระราชปริยัติกวี. (2021). กระบวนการที่พึงประสงค์ในการดำเนินคดีกับพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1052–1064. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/240802
บท
บทความวิจัย

References

Textbook Division. (1987). Discipline diagnosis. Bangkok: Mahamakut Rajawittayalai Printing House.

Kachaporn, K. (2015). A study of the Method and Process for Conflict Management in Theravada Buddhism. (Doctoral Dissertation). Mahamakut Rajawittayalai College. Bangkok.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bankok: MCU Press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka Mahachulalongkornrajavidyana edition. Bangkok: MCU Press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2009). Thai commentary The Mahachulalongkornrajavidyalaya University edition. Bangkok:MCU Press.

Prarachrattanakavee. (1980). Description of the The Sangha Supreme Council of Thailand version 11 (1978) On the insights. Bangkok: Mahamakut Rajawittayalai Printing House.

The Sangha Supreme Council of Thailand. (2018). The Sangha Act B.E.2018 (version 4). Bangkok: MCU Press.

Phraphromkunaporn (P.A. Payutto). (2008). Buddhist Dictionary Vocabulary version. (11th ed.). Bangkok: SR Printing Mass Products.

Rujira, B. (2018). Criminal case for renunciation. Bangkok: Front Line Publisher.