รูปแบบการใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารองค์กรเพื่อการพัฒนาชุมชน ของวัดโพธิการาม ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระมหานำเกียรติ วิสุทฺโธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักอปริหานิยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) รูปแบบการพัฒนาชุมชนของวัดโพธิการาม ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) นำเสนอรูปแบบการใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารองค์กรเพื่อการพัฒนาชุมชนของวัดโพธิการาม ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำราวิชาการ หนังสือ งานวิทยานิพนธ์ งานวิจัยต่าง ๆ รวมทั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักอปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความเจริญ มี 2 ประเภท คือ ราชอปริหานิยธรรม สำหรับคฤหัสถ์ผู้มีหน้าที่ในการปกครอง และภิกษุอปริหานิยธรรม สำหรับบรรพชิตผู้ใฝ่ธรรม 2) รูปแบบการพัฒนาชุมชนของวัดโพธิการาม: สถาบันการเงินชุมชนโพธิ์น้อย-โพธิ์ศรีสวัสดิ์มีการเงินชุมชนบริหารด้วยคณะกรรมการบริการฝากถอนและสินเชื่อ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ มีการใช้เทคโนโลยีเป็นการสื่อสารชุมชน ร้านค้าเซาเซ็นเป็นสหกรณ์ร้านค้าโอท๊อปแบ่งปันผลกำไร ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานโพธิ์น้อย-โพธิ์ศรีสวัสดิ์ มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีการเรียนรู้ตามวัยที่เหมาะสม ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเป็นศูนย์ที่มีการส่งเสริมการเรียนมีชุมชนเป็นฐานในการทำกิจกรรม 3) รูปแบบการใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารองค์กรเพื่อการพัฒนาชุมชนของวัดโพธิการามซึ่งสามารถเสนอรูปแบบ ดังนี้ (1) บูรณาการหลักอปริหานิยธรรมกับกิจกรรมของชุมชน (2) แต่งตั้งคณะกรรมเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้แล้วแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (3) บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสร้างผลิตภัณฑ์

Article Details

How to Cite
วิสุทฺโธ พ. (2020). รูปแบบการใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารองค์กรเพื่อการพัฒนาชุมชน ของวัดโพธิการาม ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(5), 1708–1720. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/240780
บท
บทความวิจัย

References

Chandang, W. (2013). The Development of a Strong Community Management Model Based on the Sufficiency Economy Philosophy in the Upper Central Region (Doctoral Dissertation). Graduate School: Walailak Rajabhat University under the Royal Patronage. Bangkok.

Cheamchoy, P. (2019). Time Management with Buddhist Integration. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 2(3), 25-34.

Jansawang, A. (1982). People group and community development. Bangkok: Thammasat University Press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Phrakru Prachotdhammavong (Ekkapong Hiridhammo), Phramaha Mit Thitapañño, Phrakhru Sudhikhambhirayana, & Meethaisong, T. (2019). A model of strengthing the community of the virturedevelopment center Watpanakam, Jumjang Subdistrict, KuchinaraI District, KalasinProvince. Journal of Graduate MCU Khon Kaen Campus, 6(3), 306-319.

Phramaha Mit Thitapañño. (2015). Creating Community Consciousness in the ASEAN Community and Society: Conceptual Analysis Perspectives and Movement Through Songkran Festival. Institute of Buddhist Research, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Pakasit Sirimetho. (2014). Public participation in the development of the sufficiency economy village of Ban Khlong Mai community, Sam Phran District, Nakhon Pathom Province. (Master’s Thesis) Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Siriwat Ariyamethi. (2003). Analytical Study of the Sufficiency Economy Concept from the Perspective of Buddhism. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramahamit Thitapanyo. (2015). The Buildup of a Communal consciousness of the ASEAN Community: Analyzed through the Songkran Festival. Buddhist Research Institute: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phrapromkhunaporn (P.A. Payutto). (1996). Sustainable development. Bangkok: Buddha Dharma Press.