การศึกษารูปแบบการนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพเพื่อศึกษางานวิชาการ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วิรัลพัชร นิลแก้วบวรวิชญ์
ธัชชัย จิตรนันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อการศึกษารูปแบบการนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพเพื่อศึกษางานวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษา สภาพการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้และความต้องการในการนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษารูปแบบการนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพเพื่อศึกษางานวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กระบวนการวิจัยและศึกษา เป็น 1 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้และความต้องการในการนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาที่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้และความต้องการในการนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับน้อย คิดเป็น ร้อยละ 62.80 เมื่อทำการศึกษารูปแบบการนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพเพื่อศึกษางานวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกว่า “CoPDA Model”มีองค์ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย 1) การนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพ (Cooperative Professional Development: Co) 2) การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครู (Plan: P) 3) การลงมือปฏิบัติ มีการสังเกตการณ์การสอนของครู การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Do: D) และ 4) การประเมินผลการนิเทศแบบร่วมศึกษาวิชาชีพ (Assessment: A) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chamonman, U. (2007). Educational Research Models and Tools: Case Study. Bangkok: Chulalongkorn University.

Ministry of Education. (2009). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Transportation Organization Printing House.

Office of the Basic Education Commission. (2003). Guide for supervision Supervision guidelines for developing school internal supervision system. Bangkok: Teachers Council.

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Prigwan Grafig.

Phothong, A. (2001). Educational Supervision. (2nd ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Phrapalad Somchai Payogo (Damnoen), & Phumphongkhochasorn, P. (2020). The Development of the Innovative Model of School Administration in the Secondary Education Area Office 18. Solid State Technology, 63(2s), 2058-2065.

Sanglee, S. (2002). Cooperative Professional Development Supervision for the Improvement of Mathematics Learning Achievement of First-Sixth Grade Student. (Master’s Thisis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Sa-nguan Nam, C. (2002). Theory and Practice in School Administration. Bangkok: Bookpoint Company Limited.

Si Sa-at, S. (2002). Preliminary Research. (7th ed.). Bangkok: Suwiniyasarn.

Timtak, J. (2001). The Development of Thai Language Teaching Competency. Grade 1-3 By Using the Instructional Supervision Professional Co-Development Process. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Wiratchai, N., & Wongvanich, S. (2001). Synthesis of Educational Research by Clinical Supervision. (4th ed.) Bangkok: Chulalongkorn University.

Wiriyakun, K. (2013). Introduction to Industrial Psychology. Bangkok: Odeon Store printing.