เครือข่ายทางสังคม: กลไกการเสริมสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมโดยใช้หลักศีล 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมในการเสริมสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมโดยใช้หลักศีล 5 และ 2) เพื่อเสนอกลไกขับเคลื่อนเสริมสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ยังยืนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม โดยใช้หลักศีล 5 ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสานวิธิ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1) การพัฒนากิจกรรมในการเสริมสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ยังยืนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมโดยใช้หลักศีล 5 ได้พบองค์ประกอบของกลไก 3 องค์ประกอบ คือ 1) “เยาวชน” เป็นกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ พฤติกรรม ความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต 2) “กระบวนการ” คือ การมีกระบวนอบรมบ่มเพาะปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้ความรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 3) “เครือข่าย” คือ ต้องมีผู้รับผิดชอบหลัก อาจจะเป็นตัวเยาวชนเอง ครอบครัว ผู้ปกครอง สถานศึกษา การมีศูนย์อบรมที่มีความพร้อมสามารถอบรมเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ภาคส่วน ในลักษณะที่เรียกว่า “บวร” โดยร่วมมือกันตั้งแต่การร่วมกันวางแผน นำเยาวชนเข้าสู่กระบวนการ และติดตามผล
2) กลไกขับเคลื่อนการเสริมสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ยังยืนสำหรับเยาวชนโดยใช้หลักศีล 5 นั้น ได้พบกลไกขับเคลื่อน 3 กลไก คือ (1) กลไกด้านศูนย์อบรม หรือ ศูนย์บ่มเพาะ มีองค์ประกอบคุณสมบัติของศูนย์อบรม คือ
ด้านการวางแผนงาน ด้านบุคลากร ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสื่ออุปกรณ์ ด้านงบประมาณ (2) กลไกด้านกระบวนการ หรือ การจัดกิจกรรมอบรม มีองค์ประกอบที่เป็นกระบวนการทำงาน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการอบรม ขั้นดำเนินการอบรม และขั้นการประเมินผล (3) กลไกด้านเครือข่ายทางสังคม หรือ ด้านความร่วมมือ มีจำนวน 5 กลุ่มเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายสถานศึกษา เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายองค์กรทางศาสนา เครือข่ายองค์กรชุมชน เครือข่ายวิทยากร และ เครือข่ายเยาวชน และครอบครัว
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Intawongse, K. (2007). The Development of a Learning Model for The Prevention and Solving of Drug Problem Among Vocational Education Institutes of the Eastern Regions 3. Doctor of Philosophy (Human Resource Development). Graduate School, Ramkhamhaeng University.
Phrakhruwinaithorn Anek Tejavaro (Yai-in). (2017). The Management of the Five Precepts Observing Village Project for Build Up Co-existence the Culture of Living Together of Community Prototype in Lower Northern Region.Journal of MCU Social Science Review, 6(2-03), 597-617.
Phramaha Prasert Trawaro. (2018). Driving Mechanism for the Prototype 5 Precepts Youth Development in Nakhon Ratchasima Province. Journal of MCU Peace Studies, 6(sp),160-170.
Phramaha Yothin Yodhiko, Phra Watthana Yanāvaro & Kancanapong Suwan. (2019). Human Quality Development. According to the Five Precepts. Dhammathas Academic Journal, 19(1), 1-10.
Siriwon, S. (2010). The Faith in The Five Fundamental Virtues Effects ofBehavior on Teenagers. Thesis Master of Education Degree in Guidance and Counseling Psychology). Srinakharinwirot University.
Taingpittayakorn, N. & Moonkhum, O. (2018). A Model for Promoting the Five Precepts Observation for School under Secondary Educational Service Area Office. Journal of Graduate Studies Review, 13(sp), 287-299.
Thapin, A. & Phra Athikan Chaloei Chanthako. (2020). Empowering the Spatial Wellness Network to Reduce the Risk of Integrated Buddhist Protecting New Drinkers and Smokers. Journal of MCU Buddhapanya Review, 5(1), 81-89.