การสร้างความปรองดองโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีความขัดแย้งระหว่างประชาชนซึ่งสร้างวัดบนที่ดินสาธารณประโยชน์โดยสำคัญผิดกับหน่วยงานของรัฐ

Main Article Content

เชวง ชูศิริ
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการอ้างสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างประชาชนในชุมชนกับหน่วยงานท้องถิ่นของรัฐด้วยสาเหตุว่าที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเคยเป็นของเอกชนและประชาชนในชุมชนทำการเรี่ยไรเงินจากคนในชุมชนเพื่อนำมาซื้อที่ดินพิพาทไปสร้างวัด แต่ขณะ จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดิน วัดที่ต้องการสร้างยังมิได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย แต่จำเป็นต้องมีผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากผู้ขาย ประชาชนจึงรับโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้ก่อนโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญว่า เมื่อจัดตั้งวัดเสร็จจะโอนที่ดินดังกล่าวไปเป็นของวัด โดยไม่เข้าใจว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้ที่ดินกลายเป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งไม่อาจนำมาใช้เพื่อสร้างวัดได้อีกต่อไป ส่วนหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ตามกฎหมายดูแลที่สาธารณประโยชน์มิให้มีผู้บุกรุก จึงเกิดเป็นข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการใช้ที่ดินพิพาทดังกล่าวขึ้น ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทจำเป็นต้องพิจารณาทั้งข้อกฎหมายและแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่กรณีที่เหมาะสม ซึ่งจำต้องสร้างความปรองดองโดยวิธีสมานฉันท์ (Reconciliation) ยึดหลักพุทธสันติวิธีที่สามารถสร้างความปรองดอง (Harmony) ได้อย่างยั่งยืน ด้วยการนำกรอบทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งตามแนวคิดของประเทศตะวันตกในเรื่องการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง (Mediation) มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งไปพร้อมกับการประยุกต์หลักองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1) ความจริง (Truth) 2) ความยุติธรรม (Justice) 3) ความเมตตา (Mercy) และ 4) สันติภาพ (Peace) เพื่อให้การจัดการความขัดแย้งข้อพิพาทนี้นำไปสู่การสร้างความปรองดองเพื่อสันติสุขที่ยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Department of Lands. (2016). Temple and public land. Retrieved February 29, 2020, from

https://www.dol.go.th/ecretary/Pagesบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ.aspx.

King Prajadhipok's Institute. (2012). National reconciliation. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Lederach, J. P. (1997). Building peace: Sustainable reconciliation in divided societies. Washington, DC: United States Institute of Peace.

MahachulalongkornrajavidyalayaUniversity. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Press.

Moore, C. (2003). The mediation process: Practical strategies for resolving conflict. (3rd ed.).San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Murphy, C. (2010). A moral theory of political reconciliation. Cambridge: Cambridge University Press.

Phramaha Hansa Dhammahaso. (2004). Pattern of conflict management throughpeaceful means: Case study of Mae Ta Chang Watershed, Chiang Mai Province.(Doctoral Dissertation). BuddhistStudies: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Hansa Dhammahaso. (2013). Buddhist peaceful means: Integrating principles and conflict management tools. Bangkok: 21 Century.

Prapromkunaporn (Prayut Prayutto). (2006). Buddhism Dharmic principle thinking method (9th ed.). Bangkok: Siam Publishing House.

Prathampidok (Prayut Payutto). (2000). A constitution for living. (30th ed.). Bangkok:

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

Rakngam, N., & Pongta, T. (2017). Conflict management and reconciliation promotion based on buddhism approach: A case study of 5-precept maintenance village projectin Chiang Rai province. Chiang Rai: School of Social Sciences, Chiang Rai Rajabhat University.

Sangha Act. (1962). Royal Gazette. Nd. pp. 1-12.

Whittaker, D. J. (1999). Conflict and reconciliation in the contemporary world. New York: Routledge.