การบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมของครูยุค 4.0

Main Article Content

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมของครูยุค 4.0 2. ทดลองใช้รูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมของครูยุค 4.0 และ3. ยืนยันรูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมของครูยุค 4.0 กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ได้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชุมพร สถานศึกษาละ 11 คน รวม 44 คน การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 กิจกรรม คือ 1) จัดสัมมนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 2) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ และยืนยันรูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมของครูยุค 4.0 ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1) รูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรม 4.0 ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปบูรณาการได้ทุกกลุ่มสาระ ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (=4.54, S.D. = 0.18) และองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้มี 4 ขั้นตอนคือ 1) สร้างการรับรู้ 2) ประมวลผล 3) ประยุกต์ใช้ และ 4) ประเมินผล


2) การทดลองใช้รูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมของครูยุค 4.0 ครั้งที่ 1 ผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 4.20, S.D.= 0.66) ครั้งที่ 2 ผลการพัฒนาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 4.38, S.D.= 0.54) เพิ่มขึ้น+0.18


3) ผลการยืนยันรูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมของครูยุค 4.0 โดยอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน พบว่า เป็นพหุองค์ประกอบ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์และมีความถูกต้องครอบคลุมตามทฤษฎีคิดเป็นร้อยละ 100

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buaglang, P. Polharn, J. Boonthongthoeng, P. & Ekapim, S. (2008). The Development of Teachers on Integrated Learning Organization: A Case Study of Tessaban Phon Prachanukul School, Education Division, Phon Municipality, Phon District, Khon Kaen Province. Journal; RMU.J., 2 (3), 207-218.

John W. Best. (1981). Research in Education. (4th ed). New Jersey: Prentice – Hall Inc.

Kramer, M. & Usher, A. (2011). Work-Integrated Learning and Career-Ready Students: Examining the Evidence. Toronto: Higher Education Strategy Associates.

Limprasong, N. (2017). Report on the Performance of Teacher Development Coupon Project Management course Teacher Learning 4.0: Cross-Learning Integration to Innovation.

Limprasong, N. (2018). Development of Learning Management with Active Learning Process Administrative Courses and educational quality assurance. Faculty of Education: Rajabhat Phetchabun University.

Limprasong, N. Sanguanrat, S. Chaisri, P. & Saengnak, W. (2018). research report, teacher development coupon project Learning Management Curriculum of Teachers in the 4.0 Era, Integrated across Learning Substances for Innovation. The 14th National Conference on Digital Technology for Sub stainable Wellbeing and Smart Society, 21 June 2019. College of Technology and Engineering Dhurakij Pundit University In collaboration with Prachachuen Research Network.

Office of Social Promotion of Learning and Youth Quality (2014). Raising the quality of Thai teachers in the 21st century. Documents for academic conferences "Apiwat Learning Towards Thailand Turning Point" between 6-8 days May 2014.

Rueangwilai, P. (2006). The result of integrated teaching subject.Science about Plant Life of StudentsGrade 4, Ban Ton Plong School, OfficeChiang Rai Educational Service Area, Area 4. Thesis Master of Education. Chiang Rai: Chiang Rai Rajabhat University.

Sinlarat, P. (2016). Education 4.0 is more than education. Bangkok: Chulalongkorn Printing House University.

The Secretariat of the Council of Education, Ministry of Education (2018). National educational standards.