การอนุรักษ์ประเพณีแซนโฎนตาที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการประเพณีแซนโฎนตาของชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์ประเพณีแซนโฎนตาที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
ผลจากการศึกษาพบว่า กำเนิดและพัฒนาการความเป็นมาประเพณีแซนโฎนตาโดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้นกำเนิดของแนวความคิดของประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบ่วงกรรมมีความบรรเทา ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแซนโฎนตาเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบ่วงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตาขึ้น แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นความรัก ความเมตตา ความกรุณา ความผูกพัน
ของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และชุมชน ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามประเพณีและพิธีกรรมแซนโฎนตา (สารทเดือนสิบ) ก็จะถูกสังคมลงโทษกล่าวหาว่าเป็นคนอกตัญญู และเชื่อว่าคนที่อกตัญญูจะประสบแต่ความล้มเหลวในชีวิตหาความสุขความเจริญไม่ได้ การทำประเพณีแซนโฎนตา ถือได้ว่าผู้ที่ได้ทำเป็นผู้มีใจชอบในการทำบุญสุนทาน
มีพื้นฐานนิสัยที่แสดงออกถึงความโอบอ้อมอารี รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติตน ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ส่งผลต่อ สังคม และประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เราต้องเข้าร่วมตั้งแต่เกิดจนตาย รวมถึงแม้จะเสียชีวิตไปแล้ว ก็ยังมีการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้วโดยมีความเชื่อว่าบุญกุศลที่ทำให้เมื่อมีการสิ้นชีวิตไปแล้วจะส่งผลบุญให้ผู้ที่เสียชีวิตนั้น ได้ไปสู่สุคติภพภูมิที่ดี
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Burirum Provincial Cultural Office. (2010). Complete report Khong Chi River Basin Ecological Cultural Development Project, Nong Teng Subdistrict, Krasang District, Buriram Province. Burirum: Burirum Provincial Cultural Office.
Chomdee, U. (2010). Roi Ruang Muang Suring. Surin: Sirithamoffset.
Koawdee, S. (2016). Sandontatradition: Inheritance and Existence in the Traditional Area Context. Humanity and Social Science, Journal Ubon Ratchthani University, 7(2), 131-163.
Phra Sompong Jantawangso. (2014). Study the Beliefs of Jinn that Appear in the San Dontanta Tradition of Buri Ram Province. (Master's Thesis). Graduate school: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
PhraAthikarn Tongphas Kittipalo. (2017). An Analysis of Values of Bhudhadhamma Appeared in the Tenth Month Custom of Buddhist in Phathairin Sub-Dustrict, Lamplaimat District, Buriram Province. (Master's Thesis). Graduate school: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Thongchan, S. (2006). Alternative: A Study of the Leader of the Thai-Kui (Suay) Elephant Community in Tha Tum District, Surin Province. (Master's Thesis). Graduate school: Ramkamhang University. Bangkok.
Soklim Thammarato. (2017). A Study of Influences of Boonpajumbin Festival to Buddhists in Cambodia. (Master's Thesis). Graduate school: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.