การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อพัฒนางานวิชาการ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วิรัลพัชร นิลแก้วบวรวิชญ์
ธัชชัย จิตรนันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อพัฒนางานวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา เป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้และความต้องการในการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อพัฒนางานวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อพัฒนางานวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับน้อยและ รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อพัฒนางานวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกว่า “CoPDA Model”มีองค์ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย 1) การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ 2) การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครู3) การลงมือปฏิบัติ มีการสังเกตการณ์สอนของครู การให้ข้อมูลย้อนกลับ และ 4) การประเมินผลการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดยผลการนำรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ไปใช้และการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ทีมนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพมีความรู้ความเข้าใจในการใช้รูปแบบการนิเทศ 2) ทีมร่วมนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning โดยการ ประเมินตนเองด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ทีมร่วมนิเทศทุกคนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ให้มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 3) ครูผู้รับการนิเทศมีลำดับการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนดีขึ้นทุกคน 4) ครูผู้รับการนิเทศ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยการประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยทีมนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anutarot, P. (2001). Academic administration. Bangkok: Pimpee Company Limited.

Buasri, S. (1961). Educational supervision. Bangkok: Khurusapha Publishing House.

Chuenchit, A. (2004). Professional supervision for developing learning outcomes in mathematics on mathematical processes of Prathom Suksa 1-6 students (Master’s Thesis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Khamkerd, T. (1998). Total technical articles. Nakhon Pathom: Phetchakasem Printing.

Khemmanee, T. (2007). Science of knowledge teaching for efficient learning process management. (6th ed.). Bangkok: Dan Sutthakar Dan.

Kunsila, O. (2012). Peer-to-Peer Supervision for Development of Learning Management Ability of Mathayomsuksa 1-3 Teachers. Silpakorn Education Research Journal, 6(1), 192-205.

Ministry of Education. (1999). National Education Act 1999. Bangkok: Khurusapa Publishing House, Lat Phrao.

Office of Roi Et Primary Education Area, Area 3. (2015). Information documents for educational measurement and evaluation group, academic year 2015. Educational information year 2015.

Office of the Basic Education Commission (2003). Guide for supervision guidelines for developing school internal supervision system. Bangkok: Teachers Council.

Office of the National Primary Education Commission (1997). Documentation for the meeting of the school committee. Bangkok: Khurusapha Printing House.

Phothong, A. (2001). Educational supervision. (2nd ed.) Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Phrapalad Somchai Payogo (Damnoen), & Phumphongkhochasorn, P. (2020). The Development of the Innovative Model of School Administration in the Secondary Education Area Office 18. Solid State Technology, 63(2s), 2058-2065.

Pridiyl, K. (1989). Administration and supervision of preliminary studies. Bangkok: Aksorn Pipat.

Samama, S. (2009). Development of joint supervision to increase skills. Narathiwat: Narathiwat Primary Educational Service Area Office, Area 1.

Sanglee, S. (2002). Cooperative professional development supervision for the improvement of mathematics learning achievement of first-sixth grade student. (Master’s thesis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Sa-nguan, C. (2002). Theory and practice in school administration. Bangkok: Bookpoint Company Limited.

Si Sa-at, B. (2002). Preliminary research. (7th ed.). Bangkok: Suwiniyasarn.

Thai Panit Thesis. (1985). Educational supervision techniques. Bangkok: Chulalongkorn University.

Thewanom, D. (1997). Educational Supervision. Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Timnark, J. (2001). Cooperative professional development supervision for the improvement of Thai subject instruction of first-third grade classes. (Master's Thesis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Wiratchai, N., & Sawongvanich, S. (2001). Synthesis of educational research by clinical supervision. (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Wiriyakun, K. (2013). Introduction to Industrial Psychology. Bangkok: Odeon Store printing.