พรรคชาติไทยกับการสร้างอำนาจทางการเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) วิวัฒนาการการจัดตั้งพรรคชาติไทย (2) การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของพรรคชาติไทย และ (3) การสร้างอำนาจทางการเมืองของพรรคชาติไทย ใช้การวิจับแบบเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจง คือ อดีตกรรมการบริหารพรรคชาติไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคชาติไทย ที่เคยดำรงตำแหน่งในช่วงปี พ.ศ. 2517-2551 จำนวน 15 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า (1) พรรคชาติไทยจัดตั้งขึ้นเนื่องจากบริบททางการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2516 การล้มเหลวของระบอบการปกครองในสมัยของจอมพลถนอม กิตติขจร รวมทั้งความห่วงใยต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศของกลุ่มทหารซอยราชครู ร่วมจัดตั้งพรรคชาติไทยในปี พ.ศ. 2517 (2) พรรคชาติไทยเข้าสู่อำนาจทางการเมืองด้วยการร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นก้าวแรกของพรรคชาติไทยที่เริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยเฉพาะการดูแลกระทรวงกลาโหมถือเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญ ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้พรรคชาติไทยเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ได้แก่ ผู้นำพรรค สมาชิกพรรค อุดมการณ์ทางการเมือง นโยบายพรรค ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และ
(3) พรรคชาติไทยสร้างอำนาจทางการเมืองผ่านการทำหน้าที่ในบทบาทคณะกรรมการบริหารพรรคชาติไทย บทบาทสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บทบาทรัฐมนตรี และบทบาทนายกรัฐมนตรี โดยใช้วิธีการสร้างอำนาจทางการเมืองดังนี้ การข่มขู่ การกำจัด การทำให้เสียหาย การทำลาย การให้รางวัล การให้การศึกษา การสร้างความสัมพันธ์ การสร้างคุณสมบัติส่วนตัว การสร้างกลุ่มทางการเมือง การสร้างอุดมการณ์ การสร้างความเชื่อมั่น การชักจูง การโน้มน้าว และการพัฒนาเศรษฐกิจ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Adireksarn, P. (1978). Memoirs when I was the party leader. Bangkok: Chongcharoen Printing.
Adireksarn, P. (2004). Unseen Rachakhru. Bangkok: Plan Printing.
Bunprasert, W. (2013). Origination, Existence, and Development to be Institutionalization of chart Thai Party. (Doctoral Dissertation). Krirk University. Bangkok.
Business Advancement. (1989). Lamenting General Chatchai Choonhavan "Fighter Hero". Bangkok: National Institute of Development Administration.
Chaiwat, C. (1994). The Political role of Police General Phao Sriyanonda, 1974-1957. (Master's Thesis). Graduate School: Chulalongkorn University. Bangkok.
Chanthimathon, S. (2005). Political Biography of General Chatichai Choonhavan. Bangkok: Mathichon Printing.
Chareonpan, P. (2015). Paradigm of Local Education Development of HE Banharn Silapa-Archa, the 21st Prime Minister of Thailand. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Nakhon Pathom.
Chartthai Party. (2001). Member Guide for Chart Thai Party. Bangkok: Bichtooldesign.
Cherdcharasfah, K. (1995). Biography and Viewpoint. Banharn Silapa-Archa, the 21st Prime Minister of Thailand. Bangkok: Soi Thong.
Deutsch, K. W. (1974). Politics and Government: How People Decide Their Fate. (2nd ed.). Boston: Houghton Mifflin.
Khamsuk, S. (1995). Thai Political Party System 1969-1991. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.
Kiewkingkaew, S. (1980). Introduction to political science. Chiang Mai: Chiang Mai Book Center.
Lasswell, H. D. (1958). Politics: Who gets what, when, how. Cleveland, OH: World.
Macridis, R. C. (1967). Politic parties: Contemporary trends and ideas. New York: Harper & Row.
Nakata, T. (1982). Political Science: Theory, Concepts, Key Problems and Directions for Political Analysis in Political Theory Comparative politics And international politics. Bangkok: Bannakit.
Pakapaswiwat, S. (2003). Political parties in Southeast Asia. Bangkok: The Publisher of Chulalongkorn University.
Ruangskul, V. (1990). The Formation and The Development of Chartthai Party. (Master's Thesis). Graduate School: Chulalongkorn University. Bangkok.
Sartori, G. (1976). Parties and Party System: A Framework for Analysis. New York: Cambridge University Press.
Secretariat of the House of Representatives. (1989). Minutes of the House of Representatives, 18th to 21st, ordinary session, 19-27 July 1989.
Setabutr, N. (2010). Ratchakhru Group in Thai Politics. Bangkok: Thammasat University Printing House.
Siamrath. (1990). Announcement for the dismissal of the Minister of the Minister. Siamrath, 41(28), 2.
Tantiratanapisan, V. (1989). The process of power consolidation of field Marshal Srisdi Dhanarajata. (Master's Thesis). Graduate School: Chulalongkorn University. Bangkok.
Thanakit. (2009). History of the Thai Prime Minister (Revisions and additions). Bangkok: Suwiriyasarn Printing.
Thiamthanom, S. (2004). Banharn Silpa-archa and Prime Minister. Bangkok: Mitimai Printing.
William, G. (1960). The Two-Party System in the United States. Princeton: Van Nostrand.
Wolin, S. (1960). Politics and Vistion: Continuity and Innovation in Western Political Thought. Boston: Little, Brown.
Wongkajonpaibul, K. (1996). Thai Political Parties and the Control Mechanism of their MPs: A Comparative Study of the Democrat Party and Charthai Party. (Master's Thesis). Graduate School: Chulalongkorn University. Bangkok.