ความโปร่งใสขององค์การธุรกิจไทยตามการรับรู้ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

Main Article Content

วิชิต สุรดินทร์กูร
ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง
วรเดช จันทรศร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความโปร่งใสขององค์การธุรกิจไทยตามการรับรู้ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  2) เปรียบเทียบความโปร่งใสจำแนกตามขนาดขององค์การธุรกิจ และ 3) อิทธิพลของภาวะผู้นำขององค์การธุรกิจ นโยบายของบริษัท การมีส่วนร่วมของพนักงาน และการตรวจสอบข้อร้องเรียนของลูกค้า ที่มีต่อความโปร่งใสขององค์การธุรกิจ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ 1.วิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูล
จากผู้สอบบัญชีทั่วประเทศ 300 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยหลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และแบบจำลองสมการโครงสร้าง และ 2.วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล
หลักคือผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบัญชีทั้งหมด 8 รายคัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


         ผลการวิจัยพบว่า  1) ระดับความโปร่งใสขององค์การธุรกิจอยู่ในระดับปานกลาง 2) องค์การธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่มีความโปร่งใสแตกต่างกัน โดยเรียงลำดับความโปร่งใส่ขององค์การธุรกิจ จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ องค์การธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กตามลำดับ และ 3) ภาวะผู้นำขององค์การธุรกิจ นโยบายของบริษัท การมีส่วนร่วมของพนักงาน และการตรวจสอบข้อร้องเรียนของลูกค้า ตามลำดับ มีอิทธิพลต่อความโปร่งใสขององค์การธุรกิจ ผลจากการวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนองค์การธุรกิจ พัฒนาองค์ความรู้ของผู้นำองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาลโดยเฉพาะหลักคุณธรรมและหลักความโปร่งใสในการบริหารและพัฒนาบุคลากรขององค์การให้มีจิตสำนึกที่ดี มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรขององค์การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการและ
การติดตามประเมินผลการดำเนินงานขององค์การ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Braithwaite, J. and Drahox, P. (2010). Global Business Regulation. Cambridge: Cambridge University Press.

Florini, A. and Others. (2007). The Right to Know: Transparency for an Open World. New York: Columbia University Press.

Kulnides, N., & Somjai, S. (2015). Advanced Research Methodology and Research (2nd ed.). Bangkok: Master Print Samsen.

Office of the Prime Minister. (1999). The creation of a national and social administration system. Bangkok: Office of the Civil Service Commission.

Pornupatham, S. (2008). Auditting. Bangkok: Dharmniti Press.

Prechal, S. and de Leeuw, M. (2007). Dimensions of transparency: The building blocks for a new legal principle?. Review of European Administrative Law, 0(1), 51-61.

Pusitpokai, T. (2007). How to be transparent. Retrieved June 4, 2019 from https://www.theiiat.or.th/Khowledge

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. New York: Routledge.

Sifry, M. L. (2011). Wikileaks and the Age of Transparency. Counterpoint.

Srichanpetch S. (2010). Fundamental Principles of Good Governance. Business Administration Journal, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University, 33(125), 1-3.

Tapscott, D. and Ticoll, D. (2003). The Naked Corporation: How the Age of Transparency Will Revolutionize Business. New York: Free Press.

Vishwanath, T. and Kaufmann, D. (2001). Toward Transparency: New Approaches and Their Application to Financial Markets. The World Bank Research Observer, 16(1), 41-57.