รูปแบบการพัฒนาสติเพื่อเสริมสร้างสันติสุขภาวะสำหรับผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิง
(2) พัฒนาการใช้สติ เพื่อเสริมสร้างสันติสุขภาวะสำหรับผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิง (3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาสติเพื่อเสริมสร้างสันติสุขภาวะสำหรับผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการวิจัยเชิงทดลอง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม จำนวน 26 ท่าน การสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน และการทดลองใช้กับผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งในตำบลหนองแค จำนวน 5 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิง มีปัญหาด้านร่างกาย ปัญหาด้านจิตใจ ปัญหาขาดการใช้สติอย่างเหมาะสม ปัญหาขาดความรู้ในการดูแลตนเอง ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านครอบครัว และปัญหาด้านเศรษฐกิจ
2) การพัฒนาการใช้สติด้วยการไหว้พระสวดมนต์ เจริญสมาธิ นั่งสมาธิหลับตา ตามดูลมหายใจเข้า-ออก พิจารณากายจิต และแผ่เมตตา 3) รูปแบบการพัฒนาสติเพื่อเสริมสร้างสันติสุขภาวะสำหรับผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพิงเป็นการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบด้วย 1) การสวดมนต์ เจริญสมาธิ และสนทนาธรรม 2) ดูแลเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อากาศ ความอบอุ่น อนามัย งานอดิเรก อุจจาระ ป้องกันอุบัติเหตุ และให้อภัย 3) มีกัลยาณมิตรดี กิจกรรมดี สื่อสารดี สื่ออุปกรณ์ดี หลักธรรมดี และบรรยากาศดี ทั้งนี้ การฝึกจิตโดยใช้สติปัฏฐานสี่เป็นการเจริญสติพิจารณาให้รู้เท่าทันและรู้แจ้งในทุกข์ เมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดปัญญาในการมองเห็นความจริง เข้าใจ และยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ ปล่อยวาง จึงทำให้เกิดสันติสุขภาวะทั้งกายและใจ มีลักษณะของ “4ดี” คือ ร่างกายดี จิตใจดี อารมณ์ดี ปัญญาดี
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Boondhamjaroen, K. and Sridhamrongsawat, S. (2010). Long-term Care System in Thailand Analysis Report. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute.
Bureau of Elderly Health. (2015). Elderly Health Record Book. Bangkok: Keawjawjom Printing and Publishing Suan Sunandha Rajabhat University.
Bureau of Health Promotion. (2013). Elderly Care 70-Hour Training Course Handbook. (6th Ed.) Bangkok: National Buddhist Department Printing.
Bureau of Health Promotion. (2019). Problems among Elderly People. Retrieved December 1, 2019, from http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic001.php.
Chotsirirat, P. (2011). An Analytical Study of Treatment for Disease by Vipassana Meditation According to PhraDhammaSinghaburajahn (Jarun Thitadhammo). Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkorn University.
Department of Senior Services. (2018). Department of Senior Services’s 20-Year Strategy (2018 – 2037). Bangkok: Samlada.
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2019). Situation of the Thai Elderly 2018. Nakhonpathom: Printery Co., Ltd.
Lhaapai, S. (2016). An Application of Mahasatipatthana for Development the Life Quality of Older Person. Dhammathas, 16(2), 75 – 92.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
National Health Security Office of Saraburi District 4. (2018). Long Term Care Guideline for Dependent Elderly in National Health Security System. (2nd Ed.). Bangkok: SriMuang KarnMaung Co., Ltd.
Nongkhae Hospital. (2019). Report on Diseases among Elder Persons in Nongkhae Subdistrict.
Phramaha Phuen Kittisobhano. (2019). The Buddhist Selective Factors Influencing toward the Elderly’s Psychological Well-Being. Journal of MCU Peace Studies, 7(3), 753 –765.
Phrapalad Somchai Payogo. (2015). A Model of Caring for Chronic Illness Patients by Buddhist Integration. Dissertation Doctor of Philosophy (Buddhist Study). Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phrapalad Weerachon Khemaweero. et al. (2017). Enhancement of Elder People’s Spiritual Well-Being According to Buddhism Doctrines. Journal of MCU Peace Studies, 15 (1), 78 – 88.
Puangmali, N. (2018). The Four Focuses Insight Meditation Practice for Human Resource Development at Wat Thamprapakhok Meditatin Center, Wiangchai District, Chiangrai Province. Dissertation Doctor of Philosophy (Educational Leadership and Human Resource Development). Graduate School Chiangmai Rajabhat University.
Sridhamrongsawat, S. et al. (2018). Long-term Care Development Research Project for Dependent Elderly in National Health Security System. Bangkok: Decemberry.
Suvetwethin, D. (2017). 11 อ. For good body and mind. Retrieved December 13, 2019, from http://www. thaihealth.or.th/Content/39138-หลัก%2011%20อ.%20เพื่อสุขภาพกายใจที่ดีของผู้สูงอายุ.html.
Theerabut, A. et al. (2009). Elderly Health Care Handbook. Khonkaen: Klangna Nawittaya Pub Co., Ltd.
Tungvinit, N. (2016). Integration of the Buddha Dhamma Principles and Holistic Healthcare of the Elderlies. Suan Prung, 32 (2), 47–65.
Vipassana Meditation Institute. (2018). Chanting Book (Translation) and VipassanaKammatthana Meditation. Nonthaburi: Nititham printing.