กระบวนทัศน์ในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวทางการแสวงหาความรู้ด้านสวัสดิการสังคมโดยผ่านมุมมองทางปรัชญาสังคมศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กระบวนทัศน์ 1.กระบวนทัศน์แบบธรรมชาตินิยมที่กำหนดให้ ผู้วิจัยเป็นผู้ที่มีภววิทยาแบบสัจนิยมและญาณวิทยาแบบปฏิฐานนิยม โดยใช้วิธีวิทยาเป็นการอธิบายกลไกเชิงสาเหตุ การอธิบายทางเลือกเชิงเหตุผลและการอธิบายเชิงโครงสร้างหน้าที่ ซึ่งวิธีวิทยานี้จะนำมาสู่การใช้วิจัยเชิงปริมาณเพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ องค์ประกอบ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรัฐสวัสดิการที่มีลักษณะเป็นสามัญการและมีความเห็นเหตุผลสามารถใช้อธิบายและทำนายปรากฏการณ์ทางสังคมได้
2.กระบวนทัศน์แบบการตีความจะกำหนดให้ผู้วิจัยเป็นผู้ที่มีภววิทยาแบบสัมพัทธนิยมและญาณวิทยาแบบทัศนพิสัยนิยม และกำหนดให้ผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาแบบการตีความซึ่งจะนำมาสู่การใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยสามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมแต่ละกรณีศึกษา ความรู้ที่ได้สามารถสร้างความเข้าใจปรากฏการณ์เฉพาะกรณีที่มีเงื่อนไขหรือบริบทใกล้เคียงกัน
3. กระบวนทัศน์แบบวิพากษ์ กำหนดให้ผู้วิจัยมีความหลากหลายในภววิทยา ทั้งสัจนิยมเชิงวิพากษ์ สัจนิยมเชิงประวัติศาสตร์ และสัมพัทธนิยม นอกจากนี้ผู้วิจัยต้องมีญาณวิทยาแบบทัศนพิสัยนิยมผสานกับสัมพัทธนิยม โดยผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาที่เน้นวิภาษวิธีและการสนทนา ใช้รูปแบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม วิจัยเชิงปฏิบัติการ และวิจัยเอกสาร ทำให้เกิดการรื้อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมด้านสวัสดิการสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Crotty, M. (2009). The foundations of social research: meaning and perspective in the research process. Sydney, NSW: SAGE.
Richard, H. (1998). Social welfare and social value: the role of the caring professions. Basingstoke, Hampshire: Macmillan.
Jeawkok, J. Dhammasaccakarn, W. Laeheem, K. & Sangkarat, U. (2018). Fishermen and Social Capital: Community Welfare on the Andaman Coast of Thailand. Journal of Community Development and Life Quality. 6 (1), 131-152.
Keeratinawanun, S. & Rattanachuay, S. (2019). The Mechanisms of the Strengthening Urban Community Welfare In Case of Kho-Klang, Bobae, Kudi-9 Chin and MasjidKamalulislam Bangkok. Journal of MCU Peace Studies. 7(5), 1253-1268.
Limmanee, A. (1999). Political Explanation and Analysis: Major Concerns under the Philosophy of Social Sciences. Bangkok: Faculty of Political Science Chulalongkorn University.
Midgley, J. & Livermor, M. (2009). The Handbook of social policy. Los Angeles: SAGE.
Nonthapatthamadun, K. (2007). Social Policy and Social Welfare. (4th ed). Bangkok: Thammasart University.
______. (2012). Comparative social policy. Bangkok: Thammasart University.
Patanvanich, S. (2004). Social Policy: A Path to Welfare State. Bangkok: Chulalongkorn University
Phibulsiri, C. (2008). A Study on Factors Related to the Effectiveness of Social Welfare Project in the Community Organizations. NIDA Development Journal. 48 (1), 57-84.
Rattanadilok Na Phuket, P. ( 2012) . Philosophy of Social Science and Social inquiry. Academic journal Bangkokthonburi University. 1(1), 78-88.
Rattanadilok Na Phuket, P. ( 2016) . Philosophy of Social Science: Social Explanation Foundation for Social Sciences Research. (2nd ed.). Bangkok: Bangkok block.
Suzuki, P.P. (2009) . Community Welfare in Thailand Literature review and Knowledge synthesis. Bangkok: Learning and Empowerment for Healthy Communities Institute.
Thailand Development Research Institute. (2011). To Universal Coverage System in the Year 2013. Bangkok: Thailand Development Research Institute.