กลยุทธ์การส่งออกและความสำเร็จของการประกอบธุรกิจเครื่องสำอางไทย ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ทองนัชชา วรรณพฤกษ์
นพดล พันธุ์พานิช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจส่งออกเครื่องสำอางไทยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อศึกษากลยุทธ์การส่งออกของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางและกลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการทางการตลาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อศึกษาลักษณะของพฤติกรรมผู้ซื้อเครื่องสำอางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อศึกษาลักษณะความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวิธีดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บข้อมูลผู้ประกอบการในพื้นที่ประเทศไทย และผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องสำอาง ด้วยวิธีแบบเจาะจงจากผู้ซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ไทยที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลการวิจัยพบว่ากลยุทธ์การส่งออกและความสำเร็จของการประกอบธุรกิจเครื่องสำอางไทยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ของตลาด พิจารณาถึงกฎหมายควบคุมของประเทศที่ต้องการส่งออกเป็นสำคัญ พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต GMP โดยประยุกต์ใช้วัตถุดิบพื้นบ้านของไทยสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดความแตกต่างจากสินค้าของคู่แข่งขัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการสร้างสรรค์มาจากเรื่องราวจากการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านและมีส่วนผสมของสมุนไพรไทย ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่ากลยุทธ์การส่งออกของธุรกิจที่มีความสำเร็จในการประกอบธุรกิจเครื่องสำอางไทยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ (1) การตลาดออนไลน์ สร้างเว็บไซด์และใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางทำการตลาดส่งออก (2) การสร้างเครือข่ายตัวแทนธุรกิจ สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทน ลดขั้นตอนความยุ่งยากและลดภาระต้นทุนด้านต่างๆ (3) พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ สร้างมาตรฐานการผลิตเป็นที่ยอมรับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Phanpanich, N. (2018). Strategic Process of Business Automation Systems that Facilitate the Elderly of Small and Medium Enterprises for the Transition to the Elderly Society in Thailand. Western University Research Journal Humanities and Social Sciences, 4(3), 169 -178.

Thai Cosmetic Manufacturers Association. (2019). Trace the industry EP.08 SMEs, Thai cosmetics manufacturers go global. Retrieved on 23 May 2019., from https://www.thaicosmetic.org/index.php?start=9.

Wirunrat, S. (2013). Somyot Tirawattananan and Others (2014). Strategies for Entering the International Market for SMEs. Executive Journal.

Devendra, J. (2013). Effect of Brand Image on Buying Behavior. A Multidisciplinary Journal of Global Macrotrends, 7(2), 156-162.

Kaewbunruang, C. (2003). Chareon Sopa and Others, (2018). Behavior on purchasing goods produced from Thailand by consumers from the Lao People's Democratic Republic. Thonburi University Journal of Science, 12(28).

Department of Export Promotion Ministry of Commerce. (2018). Trading and Investment Manual Lao People's Democratic Republic. Retrieved May 13, 2019, from https://www.sme.go.th/upload/mod_download/คู่มือLAOS-20171101165032.pdf.

Tirawattananan, S. (2014). Strategies for Entering the International Market for SMEs. Executive Journal, 95-102.

Sukhotprom, S. (2016). International business strategy. Bangkok: Triple Education Co., Ltd.

Wuthirong, P. (2019). Innovation Management. (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sutthisom, T. (2017). Entrepreneurship. Bangkok: S.S.

Department of Export Promotion Ministry of Commerce. (2018). Trading and Investment Manual Lao People's Democratic Republic. Retrieved May 13, 2019, from https://sites.google.com/a/srisongkram.ac.th/athittiyakornph15/w9

Phimonratanakan, S. (2017). Entrepreneurship. Bangkok: SE-EDK Floor, Bangkok PLC.

Sakara, A., & Alhassan, F. (2014). An Assessment of Brand Equity and Brand Image Influces The Purchase Behavior of Female Cosmetic Consumers: A Case of Career Women in Ghana. International Journal of Economics, Commerce and Management, 2(10), 1-14.