เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ: รูปแบบการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืน ของวิถีเกษตรอินทรีย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนทัศน์และหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ในการพัฒนาความสุขของเกษตรกรรมอินทรีย์ และเสนอรูปแบบการนำหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ ทำการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม โดยการคัดเลือกกลุ่มที่ศึกษาแบบเจาะจง ประกอบด้วยเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 10 ครัวเรือน และเจ้าพนักงานทางด้านการเกษตร จำนวน 2 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล โดยใช้การนำเสนอและวิเคราะห์แบบอัตชีวประวัติและพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนทัศน์และหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ในการพัฒนาความสุขของเกษตรกรรมอินทรีย์ มาจากความเชื่อและกระบวนการคิดของคนในชุมชนตั้งแต่การทำเกษตรเคมีเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการแห่งการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของแต่ละครัวเรือน เปลี่ยนการทำเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ ใน 5 ด้าน คือ 1) การผลิตที่ไม่มุ่งเน้นด้านการเงินเพียงอย่างเดียว 2) การเปลี่ยนแปลงการผลิตให้มีความหลากหลาย 3) การพึ่งพาตนเอง 4) การเกษตรเพื่อสุขภาพ และ 5) การวางแผนระยะยาวให้กับตนเองและลูกหลาน ความเชื่อกระบวนการคิดและการปฏิบัติของคนในชุมชนมีกระบวนการที่สำคัญ คือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 2. รูปแบบการนำหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธเพื่อพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรมอินทรีย์ คือการดำเนินชีวิตที่ผสมกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์ธรรมชาติ โดยมีรูปแบบที่พึงประสงค์ของเกษตรกร 8 ด้าน คือ 1) ด้านความขยัน 2) ด้านการประหยัด 3) ด้านความซื่อสัตย์ 4) ด้านความอดทน 5) ด้านวินัย 6) ด้านคุณธรรม 7) ด้านปัญญา และ 8) ด้านสังคม
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bhongmakapat, T. (2011). Happiness Development for the Modern Society. (2nd ed.). Bangkok: Sangsan Books.
Keawdounglek, V., & Siriratruengsuk, W. (2020). The Development of Food Safety Mechanism for Hotel Business: A Case Study of Chaing Saen District, Chiang Rai Province. Suranaree Journal of Social Science, 14(1), 17-32.
Keawdounglek, V. (2019). Food Safety and Environmental Management. Journal of Environmental Management, 15(2), 106-125.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2011). Buddhist Economics. (15th ed.). Nakorn Pathom: J.jaroen Interprint.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2015). Dictionary of Buddhism. (15th ed.). Bangkok: Phlithamma.
Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1998). Sustainable Development. Bangkok: Komol Keemthong Foundation.
Pramaha Prakasit Thitipasitthikorn. (2020). Conscious Building the Good Citizenship in Community development and Urbanized Buddhist Community in Nakhon Pathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(1), 63-80.
The National Economic and Social Development Board. (2016). National Economic and Social Development Plan No. 12 B.E. 2560-2564. Bangkok: Office of the Prime Minister.