การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยววิถีสันติภาพอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา วัดบ้านขะยูง ต.ห้วยตามอญ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ

Main Article Content

พระอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
อุทัย สติมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ บริบท รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว 2)พัฒนารูปแบบ และ 3) เสนอรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยววิถีสันติภาพอย่างยั่งยืนของวัดบ้านขะยูง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แนวทางสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดอบรมขับเคลื่อน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยสอบถามผู้รับผิดชอบการท่องเที่ยว  ผู้อุปถัมภ์ การจัดการการท่องเที่ยว ตัวอย่าง 364 คน รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) วัดบ้านขะยูงมีต้นทุนทรัพยากรในการจัดการการท่องเที่ยวหลากหลายไม่หรูหราแต่จูงใจให้เกิดการท่องเที่ยวได้โดยเน้นให้เกิดสันติภาพภายในด้วยการบ่มเพาะคุณธรรมแก่นักท่องเที่ยว 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยววิถีสันติภาพอย่างยืน ได้รูปแบบชื่อเรียกว่า “PLOWPLEU’S Model” มีองค์ประกอบย่อย 8 ประการ ได้แก่ (1) สถานที่ท่องเที่ยวพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (2) การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการจัดการการท่องเที่ยว (3) ปฏิบัติการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวต่อเนื่อง  (4) การระมัดระวังผิดจริยธรรมการท่องเที่ยว  (5) วิถีทางอันเหมาะแก่การบ่มเพาะคุณธรรมจากการท่องเที่ยว  (6) ผลประโยชน์ระยะยาวเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (7) การศึกษาภายใต้กิจกรรมเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา (8) เฟ้นหาลักษณะเฉพาะเป็นลักษณะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่น่าจดจำ และ 3) ผลการเสนอรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยววิถีสันติภาพอย่างยั่งยืน จัดประชุมประเมินความรู้กลุ่มเป้าหมาย เปรียบเทียบผลการ


 


ประชุมอบรมกลุ่มเป้าหมายคะแนนก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของสองกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เกี่ยวข้องการจัดการการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยววิถีสันติภาพอย่างยั่งยืน อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Central Office of Wat Baan Khayung. (2019). Annual Announcement of Statistics on the Amount of Merit Connection/Patrons on Tourism Management of Wat Baan Khayung.

Department of Public Assistance of the Sangha Supreme Council of Thailand. (2019). Strategic Planning and Practicing Guidelines: Project of Temples, People, and Government to Create Happiness 2018-2022. Nonthaburi: Nitidham Printing.

Department of Religious Affairs, Ministry of Culture. (2016). Paying Respect to Buddha Images 10 Temples for Continuing Prosperity of 10 Reigns. Department of Religious Affairs.

Kamales, N. (2019). Leaders with Managing Cultural Diversity and Communication. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 3(1), 63-72.

Khamdee, K. (2015). Temples and Religious Places in Tourism Dimension. Journal of Language, Religion and Culture, 4(2), 175-191.

Krejcie, & Morgan. ( 1 9 7 0 ) . Referred in Prasopchai Pasunun. (2014). Sample Specifying According to Krejcie & Morgan in Quantity Research. Journal of Applied Academic Arts. 7(2).

Kyaing, W. (2019). The Buddhist Cultural Remains of Sri Ksetra. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 3(2), 49-64.

Lao-aruen, P. (2019). Tai Yai Buddhist Altar: Ethics and Customs of Tai Yai People in Mae Sai District, Chiang Rai Province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(3), 299-314.

Neadpucdee, R. (2019). The Effect of Telling Jataka Tales In Inculcating Gharavasa-Dhama 4 To Early-Childhood Children In Child Development Centers Of Local Administrative Organizations, Khonkaen Province. Saeng Isan Academic Journal, 16(2), 620-630.

Ngamwittayapong O. et. al. (2017). Strategies to Renovate Temples Bringing back Dhamma Leading Towns. Bangkok: Asomsilp Institution.

Nyani, Y. (2018). Buddhist Cardinal Principles for Peace and Harmony. Journal of MCU Buddhapanya Review, 3(1), 19-29.

Office of National Buddhism. (2019). Retrieved February, 12, 1019 from Information of Wat<http://www3.onab.go.th/2019/02/12/wattotalsummaryreport31012562>. Mar. 1.

Phramaha Hansa Dhammahaso. (2011). Buddhist Peaceful Means: Integration of Principles and Tools to Manage Conflict. Bangkok: 21st Century.

Secretary Office of National Strategic Committee Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). Draft of National Strategies Presenting National Legislative Assembly of Thailand. Retrieved September 15, 2018 from <http://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_DraftplanJune2018F.pdf.