เครือข่ายสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระ ของผู้ประกอบการโรงหล่อในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ษมาวีร์ จันทร์อารีย์
พระสุธีรัตนบัณฑิต
โกนิฏฐ์ ศรีทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณค่าและปัจจัยเอื้อต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระของผู้ประกอบการโรงหล่อในจังหวัดนครปฐม และ 2) เพื่อเสนอเครือข่ายสร้างเสริมการเรียนรู้อนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระในจังหวัดนครปฐม มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมจำนวน 20 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 15 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีเทคนิคสามเส้า และนำเสนอแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า  1. คุณค่าของภูมิปัญญาการหล่อพระและและปัจจัยเอื้อต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระของผู้ประกอบการโรงหล่อในจังหวัดนครปฐม สรุปใน 2 เป็นประเด็น คือ 1) คุณค่าของภูมิปัญญาการหล่อพระ ประกอบด้วยคุณค่าต่อการพัฒนาบุคคล ในด้านการพัฒนาความรู้ ด้านการพัฒนาอารมณ์ ด้านการพัฒนาจิตใจ ด้านการปรับตนเองกับสังคม และ คุณค่าต่อการพัฒนาสังคม ในด้านความสัมพันธ์ของครอบครัว ด้านส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ ด้านปลูกฝั่งคุณธรรมจริยธรรมในสังคม ด้านศิลปกรรม ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านการสร้างความภาคภูมิใจให้ชุมชน และ 2) ปัจจัยเอื้อต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระ  2. เครือข่ายสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระของผู้ประกอบการโรงหล่อในจังหวัดนครปฐม ได้แก่  1) เครือข่ายทางสังคมที่เป็นกลไกสร้างเสริมการเรียนรู้อนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระ และ 2) แนวทางการสร้างเสริมความร่วมมือเครือข่ายการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระ สรุปได้ใน 2 ประเด็นที่เป็นจุดเริ่มสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้อนุรักษ์ภูมิปัญญาการหล่อพระ คือ 1) การสร้างพื้นที่ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ผลงานพุทธศิลป์ และ 2) การสร้างสรรค์สังคมที่เอื้อต่อการแสวงหาความงาม ความดี จริยธรรมทางสังคมจากงานสร้างสรรค์พุทธศิลป์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Inthawongsa, A. (2002). Knowledge Transmission of Singha Sculptor Career in Chaing Mai. (Master’s thesis). Graduate School: Chiangmai University. Chiangmai.

Kongkhum, S. & Sungrugsa, N. (2015). The Development of Knowledge Management Model for Shadow Puppet (Nang Talung) Local Wisdom to Strengthen Local Culture. Silpakorn Educational Research Journal. 7(1), 242-255.

Phrachayanantamunee et al. (2019). The Ascertainment and Conservational System the Ancient Scriptures Kept in Monateries and Publicizing Lanna Wisdom to Up Rise A Local Learning Source in Lanna Region. Journal of MCU Nakhondhat. 6(1), 126-145.

Phramaha Prakasit Sirimedho. (2018). A Model of Manuscript Conservation for Cultural Learning of Youth in Nakhon Pathom and Suphanburi Province. (Research Report). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Rungraung, S. (2014). Guidelines for the Conservation of Wisdom Casting Buddha of Banchanglor Community: Case Study Banchanglor Community Bangkoknoi District Bangkok. Academic Services Journal, Prince of Songkla University. 25(1), 39-46.

Teanpewroj, P. (2015). Historical Development of Craftsmen Career in Ayutthaya Period to Department of Ten Crafts in Rattanakosin Period. Humanities and Social Sciences. 32 (3), 159-170.

Uttayawalee, K. (2009). The Problem of Management Thai Book for Educational Potential Southern Local. Rusmilae Journal. 30(3), 40-50.

Wongwiwathananukij, S. (2012). Dictionary of Research and Statistics. Bangkok, Dansutha Printing.