การอนุรักษ์พิธีกรรมแซนปะกำช้างของชาวกูย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระครูพิมลกัลยาณธรรม กลฺยาโณ

บทคัดย่อ

บทความนี้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการศึกษาประวัติเป็นมาของพิธีกรรมแซนปะกำช้างของชาวกูย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์พิธีกรรมแซนปะกำช้างของชาวกูย อำเภอท่าตูม
จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยในครั้งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เรียบเรียงเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) พิธีกรรมแซนปะกำช้างที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชาวกูย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์มีความเชื่อที่มีต่อปะกำช้างคือ เส้นปะกำช้างถือว่าเป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์มีเทวาอารักษ์ หรือวิญญาณของบรรพบุรุษรักษา คุ้มครองอยู่ด้วย  ถ้าผู้ใดบูชาดี เซ่นไหว้ถูก ก็สามารถนำมาซึ่งความสุขความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้  เส้นปะกำนี้ตามความเชื่อของชาวไทยกูย มักเชื่อว่าสามารถให้ได้ทั้งคุณและโทษ และ 2) แนวทางการส่งเสริมในการอนุรักษ์ประเพณีพิธีกรรมแซนปะกำช้างของชาวกูย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ด้านการสร้างฐานข้อมูลและให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว คือการศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมแซนปะกำช้าง ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว สร้างฐาน ข้อมูลตลอดจนประวัติความเป็นมาของมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณสถานต่างๆ ซึ่งต้องยึดหลักที่ว่าต้องอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมไว้ให้ดีที่สุด เพื่อให้สามารถสืบต่อถึงอนุชนรุ่นหลังเพราะนั้น เป็นประเพณีที่มีทั้งความสวยงามและยิ่งใหญ่อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ที่ไม่สามารถชมได้ที่ไหน โดยเฉพาะในช่วงเวลาของขบวนแห่ที่ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งหนึ่ง และคู่ควรกับการอนุรักษ์รักษาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นประเพณีพื้นบ้านอันงดงามที่บรรพบุรุษสร้างไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhunnothok, T. (1984). Considering the Culture and the Community. Buriram: Buriram Teachers College Cultural Center.

Chinnak, S. (1996). Pripakam: The Belief in Ancestor Spirits of Thai-Kouy (Soai) Mahout Surin Province. (Master's Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Kamales, N. (2019). Leaders with Managing Cultural Diversity and Communication. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 3(1), 63-72.

Kyaing, W. (2019). The Buddhist Cultural Remains of Sri Ksetra. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 3(2), 49-64.

Lao-aruen, P. (2019).Tai Yai Buddhist Altar: Ethics and Customs of Tai Yai People in Mae Sai District, Chiang Rai Province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(3), 299-314.

Nyani, Y. (2018). Buddhist Cardinal Principles for Peace and Harmony. Journal of MCU Buddhapanya Review, 3(1), 19-29.

Phra Atikan Thipphanet Punyateepo. (2019). An Analytical Study on the Ritual of Worshiping and Beliefs Aboutta -Kheag Ghost in Community Kasem Sub-District, Trakanphuetphon District, Ubon ratchathani Province. Journal of Arts Management, 3(1) 11-22.

PhrakruSaradhamprasath (Cheam). (2017). An Application for Promotion of the Ordination Tradition Concerning Elephant to Way of Life of People in Bandan District, Buriram Province. (Master's Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Bangkok.

Simoros, A. (2009). The Folklore of Novice to be Elephant Parade: A Case Study of Taklang Village in Krapo Subdistrict, Thatoom District, Surin Province. Journal of Burirum Rajabhat University, 1(1), 84-93.

Srisawat, C. (1990). History and Culture of Thai Elephants- Kouy (Soai) In Surin. Surin: Faculty of Management Sciences, South Isan College.

Nanothok, T. (1984). The Considering the Culture and the Community. Buriram: Buriram Teachers College Cultural Center.

Thongjan, S. (2006). A Study of the Leader of the Thai-Kui (Suay) Elephant Community in Tha Tum District, Surin Province. (Master's Thesis). Ramkhamhaeng University, Bangkok.

Thongsri, W. (2011). Nattakhum of Elephant: The Behavior of Elephant's Performance in Surin Province. (Master's Thesis). Surindra Rajabhat University. Surin.