การสังเคราะห์องค์ความรู้ลวดลายผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ธนิดา แหลมฉลาด
โฆสิต แพงสร้อย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษาองค์ความรู้และความเป็นมาผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษา พบว่า ร้อยเอ็ดเป็นแหล่งผลิตผ้าขาวม้าทอมือมายาวนาน ในปัจจุบันมีกว่า 70 ชุมชนในทุกอำเภอ กลุ่มชาติพันธุ์ 5 กลุ่มที่ทอผ้าขาวม้าในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ กลุ่มไทยอีสาน กลุ่มไทยลาว กลุ่มไทยเขมร กลุ่มไทยกูย (ส่วย) และกลุ่มผู้ไท ลวดลายผ้าขาวม้าที่พบมี 4 ลักษณะ คือ ผ้าขาวม้าตาใหญ่ ผ้าขาวม้าตาเล็ก ผ้าขาวม้าไส้ปลาไหล และผ้าขาวม้าตาหมู่ ผ้าขาวม้าทอมือยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนร้อยเอ็ด เป็นผ้าสำคัญในพิธีการต่าง ๆ ตั้งแต่การเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย และเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเสนอองค์ความรู้ผ้าขาวม้าทอมือของชุมชน จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนให้เกิดการออกแบบลวดลายผ้าใหม่ๆ การแปรรูปผ้าเป็นผลิตภัณฑ์ และการทำการตลาดนอกจากนี้ยังเป็นการนำเสนอลวดลายของผ้าที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตัวตน ชุมชน หรือชาติพันธุ์ เพื่อเป็นการสืบทอดความรู้และแนวคิดเพื่อการพัฒนาลวดลายผ้าให้ได้รับการยอมรับในหลากหลายมิติ เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Chudhavipata, W. (2012). Textile: Reflection of Thai Traditions. (Research Report). Dhurakij Pundit University.

Khanthong, P. (2019). Marketing Model of Online Business in Thailand. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(2), 45-56.

Pinkaew, K. (2011). Creative Economy, Cultural Capital and Business Opportunity. Executive Journal, 31(1), 32-37.

Royal Institute. (2013). Dictionary of Royal Institute B.E. 2554. Bangkok: Royal Institute.

Sikka, S. (2012). A Study of Local Identities for Designing Mekong River Basin Fabric Patterns: A Case Study of Ban Kum, Huay Pai, Khong Jiam, Ubon Ratchathani. (Research Report). Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture.

Silpakorn University. (2001). Native Woven Fabric: Exploration Manufacturers Nationwide. Bangkok: Local Fabric Development Project in All Provinces of Thailand.

Sirasunthorn, P. (2013). Concept, Theory, Technique and Application for Social Development. Bangkok: Chulalongkorn University.

Waikla, R. (2019) . Local Wisdom and Conservation of Phutai Traditions. Journal of Arts Management, 3(1), 53-68.