รูปแบบการบริหารจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัดต้นแบบในวัดตามหลักพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณี วัดโตนด อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาบริบทและสภาพปัญหาในการบริหารจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัด ของวัดโตนด อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัดต้นแบบในวัดตามหลักพุทธสันติวิธี 2) นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัดต้นแบบในวัดตามหลักพุทธสันติวิธี โดยศึกษากรณีสถานพักพิงสุนัขจรจัด วัดโตนด อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัดต้นแบบในวัดตามหลักพุทธสันติวิธี ประกอบด้วย 1) บริบทและสภาพปัญหา พบปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในการบริหารจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัด มีความสัมพันธ์ของปัจจัยปัญหาจากหลายปัจจัย เช่น การบริหารจัดการที่ยังไม่มีรูปแบบชัดเจน ปัญหาการควบคุมจำนวนสุนัขจรจัด ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการดำเนินการของสถานพักพิงสุนัขจรจัด เป็นต้น โดยการวิเคราะห์ปัจจัยปัญหาใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การศึกษาแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัดอย่างมีส่วนร่วม รวมถึงการรวบรวมข้อมูลจากสถานพักพิงสุนัขจรจัดต้นแบบที่ดีในประเทศไทย 2) รูปแบบการบริหารจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัดต้นแบบโดยใช้หลักพุทธสันติ ใช้หลักธรรม อริยสัจ 4 และ มรรค 8 มาบูรณาการ ควบคู่กับบริหารจัดกาตามแนวทางของกฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และเป็นแนวทางเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดต่อไป
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Animal Cruelty and Animal Welfare Act. (2014). Government Gazette. Volume 131, (Section 87a), 4-13.
Public Health Act. (1992) "Nuisance Management" Section 6-8 Department of Health, Ministry of Health.
Chuangweluwa, N. (2013). People Participation in Conservation of Natural Resources and the Environment of Sato Subdistrict Administrative Organization, Khao Saming District, Trat Province, Special Problems. Master of Public Administration College Public Administration: Burapha University.
Chaicharoenwattana, B. (2017). Peaceful Method: Conflict Management in accordance with peaceful means. Journal of Peace Studies, Periscope MCU, 5 (2), 16.
Phramaha Hansa Thamahaso. (2005). "Peace Studies: Buddhist Path to World Peace" Peace Studies: the Buddhist Path to World Peace. "Doi: 10.14456 /jmcupeace.2016.24 Journal of Peace Studies, 4 (special issue).
Phramaha Sutthichai Thitchayo. (2003). Analytical Study of Brahmavihara 4 in Buddhist Scriptures. Thesis Master of Arts. Graduate school: Mahamakut Buddhist University.
PhraThep Sophon (Prayoon Thammachitto). (1996). Mani of Wisdom. Bangkok: Dharmapa and Banlueam Institute.
Phra PhramKunaphon (P. A. Piyayuto). (2011). Buddhist Dictionary Glossary edition. (16th ed.). Bangkok: Sahamit Printing Company Limited.
Phra Phrammabundit. (2014). Integrating Buddhism and Modern Science Buddhism and national reconciliation. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House.
Yangsri, H. (2017). Action Model and Rabies Surveillance in the Community for Disease Free Zone in Mueang Bueng Kan District, Bueng Kan Province. The Public Health Journal of Burapha University, 12 (2), 86-95.
The Sangha Supreme Council of Thailand Meeting. (2018). the Secretary-General of the Sangha The Society for the Prevention of Cruelty Animals of Thailand. issued No. 4555
Thipthanghong, W. (2009). Guidelines for Management and Design of Physical Characteristics of Self-Reliant Homeless Dog Shelters. Thesis Master of Arts (Architecture Program). Thammasat University.