การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร

Main Article Content

ไพศาล บัวกล่ำ
พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ
ธนีนาฏ ณ สุนทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อระบุความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร    2) เพื่อประเมินและตีค่าความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร  3) เพื่อจัดการและบรรเทา ความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร และ 4) เพื่อจัดการความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่และประเมินระดับความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน          1) การระบุความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร 2) การประเมินและการตีค่าความเสี่ยง ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร 3) การจัดการและบรรเทาความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร และ 4) การจัดการความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ และการประเมินระดับความเสี่ยง ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธีโดยใช้แนวคิดในเรื่องการอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, โสภณ  พงษ์โสภณ และ ธร  สุนทรายุทธ  เป็นกรอบการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งมีโครงสร้าง  2) แบบ Check list  และ 3) แบบประเมินระดับ         ความเสี่ยงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการระบุความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร มี 9 ด้าน 191 ปัจจัยเสี่ยง 2) ผลการประเมินและตีค่าความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนถนอมบุตร ผ่านตามข้อกำหนด 176 ปัจจัยเสี่ยง และไม่ผ่านตามข้อกำหนด 15 ปัจจัยเสี่ยง 3) 7 ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ผ่านตามข้อกำหนดสามารถจัดการความเสี่ยงได้หมด ส่วน         8 ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ผ่านตามข้อกำหนดที่เกิดจากโครงสร้างถาวรของอาคารและความไม่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันใช้การบรรเทาความเสี่ยงแทน และ 4) 7 ปัจจัยเสี่ยงที่จัดการความเสี่ยงได้ไม่พบความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ และ 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ใช้การบรรเทาความเสี่ยง พบว่ามีความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ในระดับต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chair, Audit & Risk Committee. (2018). Risk Management & Compliance Framework. New Zealand: University of Canterbury.

Chairattanawan, K. (2011). Standard Risk Management ISO 31000 and Thailand Education System. Veridian E-Journal, 4(1), 419-734.

Chirawatwong K. (2009). Risk Management with ISO 31000. For Quality. 15(136), 116-121.

Department of Health. (2008). Handbook of Environmental Health in School. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand under Royal Patronage of His Majesty the King.

Hatyaijaroenratpittaya School. (2018). Strategic Planning B.E. 2559-2561 (A.D. 2016 – 2018). Retrieved August 30, 2018, from http://www.yjp.ac.th/index.php/plan59-61.

Internal audit group Ministry of Education. (2013). Risk Management Manual. Bangkok: Ministry of Education.

Ministry of Education. (2002). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Bangkok: Ministry of Education.

________. (2018). To Use the Educational Standards for Early Childhood, Basic Education and Basic Education Level, Special Education Center. Bangkok: Ministry of Education.

Oodjunsri, P. (2013). Risk Management Model of Policies and Strategies of Private Schools in the Basic Education Level under the Ministry of Education. Ph.D. Dissertation. Burapha University. Chon Buri, Thailand.

Phongsophon, S. (2012). Safety Training Documents in The Workplace. Bangkok: Safety and Health at Work Promotion Association.

Promsri, C. (2007). Risk Management. Bangkok: Offset Creation.

Sumetheeprasit, J., Pipithanaowarat, M., & Khongsawatkiat, K. (2013). Professional Risk Management. (2nd ed.). Bangkok: McGraw-Hill.

Suntrayuth, D. (2007). Risk Management. Bangkok: Netikun Printing House.

Thanombutra School. (2016). Self-Assessment Report 2016. Bangkok: Thanombutra School.

The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2014). 4th External Quality Assessment Indicators and Criteria B.E. 2559-2563 (A.D. 2016-2020) Basic Education Level (Primary and secondary). Bangkok: The Office forNational Education Standards and Quality Assessment.