การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อการสร้างเศรษฐกิจฐานรากบนฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์ และพูดคุยแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการกับผู้ให้ข้อมูลหลัก การสนทนากลุ่ม โดยผู้ศึกษาใช้วิธีการนี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เป็นองค์ความรู้ของสมาชิกในขุมชน และสมาชิกกลุ่มต่างๆ ภายในชุมชน และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนที่เหมาะสมกับชุมชน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน 2) การพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนหลักการพึ่งพาตนเองบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) คนในชุมชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงทุกด้านโดยเรียนรู้ได้ด้วยเชิงประจักษ์ในพฤติกรรมผ่านกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 4) การเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน การนำชุมชนไปเรียนรู้ร่วมกับชุมชนอื่น และชุมชนพื้นที่อื่นมาเรียนรู้ร่วมกันพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ตระหนักและเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาสู่การแบ่งปันทรัพยากรในการทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ผ่านนวัตกรรมของชุมชนในลักษณะที่หลากหลายร่วมกัน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Yuyen, K. (2003). The Dynamics of Baan-Pred-Nai Community under the Sufficiency Economy Concept. (Master's Thesis). Graduate School: Thammasat University. Bangkok.
Mangkhang, C. et al. (2016). A study project of the royal project’s knowledge transfer and capacity building for highland communities, Chiang Mai: Highland Research and Development Institute (Public Organization).
Muangyai, A. (2016). Development Approach to Enhancing the Potential of Community and Local in the Twenty-First Century. Eau Heritage Journal Social Science and Humanity, 6(3), 12-26.
National Economic and Social Development Board, Council. (2015). Development Plan of National Economy and Society, Issue 12 (2017-2021). Retrieved September 15, 2018, from https://www.nesdb.go.th.
Natchapakpraphob, C. et al. (2015). The Guidelines for Sustainable Administration of Nation Village and urban Community fund: A Case study of Phetchabun Province, Thailand. Journal of Modern Management, 13(2), 93-101.
Panyanuwat, A. et al. (2014) . Assessing the cost of administering the designated areas for sustainable, Bangkok: Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization).
Sornphaisan. (2017). Pracharat for the people and for the state. Manager Online. Retrieved June 9, 2019, form https://mgronline.com/mualfund/detail/9580000106890.
Sriboonjit, S. (2008). The Comparative Assessment Project in the Public Dimension to Bring the Sufficiency Economy Philosophy (Research Report). Chiangmai University.