การพัฒนาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ธนิดา แหลมฉลาด
โฆสิต แพงสร้อย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) เพื่อพัฒนาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นชุมชนทอผ้าขาวม้า จังหวัดร้อยเอ็ด 4 ชุมชน ได้แก่ บ้านหนอง
เขวา ตำบลแคนใหญ่ อำเภอเมือง บ้านโนนสำราญ ตำบลเมืองทอง อำเภอเมือง บ้านขว้างใหญ่และบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามผ่านการสำรวจ การสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพปัญหาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ดมีหลายประการ ได้แก่ (1) ลวดลายเดิมคล้ายคลึงกับผ้าขาวม้าที่ผลิตจากแหล่งอื่น ไม่มีการพัฒนาลวดลายใหม่
(2) ลวดลายไม่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ซึ่งบ่งบอกตัวตน ชุมชน หรือชาติพันธุ์ (3) ช่างทอไม่สามารถทอลวดลายขิดที่ซับซ้อนบนผ้าขาวม้าเก่าของบรรพบุรุษได้ (4) ลวดลายเดิมไม่สามารถดึงกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจผ้าขาวม้าทอมือได้(5) ลวดลายผ้าขาวม้ากำลังหายไปพร้อมช่างทออาวุโสที่ขาดผู้สืบทอดและ (6) ชุมชนขาดความรู้หรือแนวคิดใหม่ในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อการพัฒนาลวดลายใหม่ ๆ 2) การพัฒนาลวดลายผ้าขาวม้าทอมือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ทำสำเร็จได้ด้วยกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกภายในชุมชนและนอกชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลวดลายผ้า และคนกลางคือผู้วิจัย ผลผลิตจากการวิจัยครั้งนี้คือผ้าขาวม้าทอมือรวม 11 ลวดลายใหม่ซึ่งชุมชนพื้นที่วิจัยทั้ง 4 ชุมชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akkara, W. (2017) . The Packaging Product Development for Loincloth and Orange Jasmin Blanket Flower: A Case Study of Weaving Farmer Housewife Group of Ban Nalao Tao Ngoi District Sakon Nakhon Province. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 14(66), 21-30.

Buaphat, N. (2018). Forn Laikit: Local Dancing Art for Community Economic and Cultural Tourism Development. Journal of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat University, 20(Special Issue), 173-183.

Butkeviciene, V., Stravinskiene, J. & Rutelione, A. (2 0 0 8 ) . Impact of Consumer Package Communication on Consumer Decision Making Process. Inzinerine EkonomikaEngineering Economics (1), 57-65.

Di Franza, J. R., Clark, D. M., & Pollay, R. W. (2002). Cigarette Package Design: Opportunities for Disease Prevention. Tobacco Induced Diseases, 1, 97-109.

Khiatthong, T. (2015). Hmong Needlework Products: The Design for Creative Economy. Journal of Fine Arts Research and Applied Arts, 2(1), 55-79.

Klaythane, S. (2019). The Management Fabrics Focused in Identities of the Asean. Journal of MCU Nakhondhat, 6(3), 1232-1248.

Nerngchamnong, K. (2017). Loincloth: Values and Meanings from Cultural Capital to Creative Economy. Fine Arts Journal Srinakharinwirot University, 21(1), 84-93.

Phakdeesuwan, S. (2010). Pattern Design for MudMee Silk Fabrics of Maha Sarakham Province in Contemporary Culture Context. Chophayom Journal, 21(1), 17-35.

Phasuk, S. (2002). Hand Woman Thai silk. Bangkok: Odain.

Pitathawatchai, W. (1987). Esan Cloth. Khonkaen: Faculty of Education, Khonkaen University.

Srisuk, K. (2016). Nameunsi and KohYor Woven Fabric: The Application of Creative Economy Concepts to Develop Products for the Development of Community Economy. Social Sciences Research and Academic Journal, 11(33), 87-100.

Waikla, R. (2019). Local Wisdom and Conservation of Phutai Traditions. Journal of Arts Management, 3(1), 53-68.

Wesapen, W. (1990). Esan Local Music. Mahasarakam: Srinakarinwirot University Mahasarakam Campus.

Wongthes, S. (2010). Where is Thai Music. Nakhon Pathom: Mahidol University.