การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

จันทร์ประภา ชุมชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัด     การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 2) สร้างและพัฒนารูปแบบ    การจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (2) แผน        การจัดการเรียนรู้ (3) แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (4) แบบทดสอบวัดความรู้     (5) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ (6) แบบสอบถามความพึงพอใจ


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. สภาพปัญหาความเข้าใจเนื้อหาการเรียน เรื่อง บรรยากาศ นักเรียนมีความเข้าใจน้อยที่สุด - ปานกลาง โดยรวมถึงร้อยละ 70.42 แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ที่นักเรียนต้องการมากที่สุด ได้แก่         การทดลอง การสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต การบรรยาย ใบความรู้ ใบงาน การสร้างเครื่องมือตรวจวัด คลิปวิดีโอ การอภิปรายร่วมกัน การสร้างชิ้นงานและการทำรูปเล่มรายงาน ตามลำดับ

  2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มี 5 ขั้น คือ (1) ขั้นทบทวนความรู้เดิม (2) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ใหม่

            (3) ขั้นสืบเสาะหาความรู้ (4) ขั้นเพิ่มเติมเนื้อหา และ (5) ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80


  1. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Dechakhub, P. et al. (2009). Teach Science for Understanding with the Backward Design. Bangkok: Institute of Academic Development (IAD).

Khammanee, T. (2007). Teaching knowledge. (5th ed.). Bangkok: Dansutha Printing.

Rangubthuk, W. (1999). Lesson plans on Student Centered Learning. Bangkok: Suwiriyasarn.

Rodrangkha, W. (2001). Teaching Science with Science Processing Skills. (2nd ed.). Bangkok: Institute of Academic Development (IAD).

Saenphan, W. (2010). Strands and processing designment for Science learning. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Sanrattana, A. (2011). Need Assessment for Curriculum and Instruction Development. Journal of Education Khon Kaen University, 34(1-2), 9-20.

Sirisan, P. (2010). A Development of Co-Operative Learning Package of Science on The Topic “Ecosystem” for Mathayomsuksa 3 Students. Thesis Master of Education. Educational Technology Graduate school: Burapha University.

Sujira, S. (2015). Skills are more important than knowledge. Samut Sakhon: Pimdee.

Thumthong, B. (2013). Theories and Development of Instructional Model. Bangkok: S. Printing Thai Factory.

Wongwanich, S. (2015). Needs Assessment Research. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.