รูปแบบการขจัดความยากจนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของชุมชนในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กาญจนารถ แก้วทิพย์
พระสุธีรัตนบัณฑิต สุทิตย์
โกนิฏฐ์ ศรีทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการขจัดความยากจนของชุมชนในจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการขจัดความยากจนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการขจัดความยากจนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดเชียงราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมจำนวน 25 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีเทคนิคสามเส้า และนำเสนอแบบพรรณนา


               ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ปัจจัยความสำเร็จในการขจัดความยากจนของชุมชนในจังหวัดเชียงราย ได้พบปัจจัยสำเร็จสรุปได้ 5 ประการ คือ 1) ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ 2) การมีกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย 3) การสนับสนุนจากองค์กรภายนอก 4) การดำเนินชีวิตที่มีสภาพวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ดี และ 5) ผู้นำชุมชนมีความน่าเชื่อถือสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่คนในชุมชนได้

  2. การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการขจัดความยากจนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดเชียงราย พบว่า มีกระบวนการขับเคลื่อนประกอบด้วย 5 กระบวนการ คือ 1) การสร้างแรงผลักดัน 2) การปรับเปลี่ยนเรียนรู้ 3) การจัดทำแผนชุมชนสู่อนาคต 4) การนำหลักการหรือแผนการไปขับเคลื่อนการปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง และ 5) การปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

  3. รูปแบบการขจัดความยากจนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนในจังหวัด ได้พบรูปแบบการขจัดความยากจนอย่างยังยืนของชุมชนในจังหวัดเชียงราย สรุปเรียกว่า “CMPAC MODEL” ประกอบด้วย 1) C = Create Motivation การสร้างแรงผลักดันจากภายใน 2) M = Modify Learning การปรับเปลี่ยนเรียนรู้ 3) P = Plan Together การวางแผนอนาคตชุมชน 4) A = Applied Implementation การประยุกต์วิธีการและปฏิบัติจริง และ 5) C = Change for Sustainable Development การปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhiromrat, K. (2010). Students Conduct of Rajabhat Universities in Bangkok on the way of Self-sufficient Economy. Research Reports. Suan Sunandha Rajabhat University.

Imiwat, P. et al. (2018). Localization: Community Management Innovation of Hua-Ngom Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province. Governance Journal, 7(2), 173-193.

Janmeesri, S. (2018). Performance Effectiveness of the Village Committee. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(2), 133-154.

Janmeesri, S. (2018). Performance Effectiveness of the Village Committee. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(2), 133-154.

Jitsanguan, T. et al. (2008). The Study on Sufficiency Economy Movement: Lessons Learned from 40 Selected Villages. Research Reports to Office of the National Economic and Social Development Board, Kasetsart University.

Nunchan, A. (2019). Factors Affecting Public Acceptance of the Construction of Community Waste Disposal Plants. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences. 2(1), 35-46.

Patumsawad, T. (2016). The Participation of Citizens in Building Strong Communities Case Study Community Don Muang Khong. Rajapark Journal, 10(20), 178-188.

Phramaha Prakasit Sirimedho. (2016). The Driving Mechanism to Develop Sufficiency Economic Villages in Nakhon Pathom Province. Research Reports. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Saranjit, T. (2015). Problem of Poverty in Thailand. EAU Heritage Journal Social Science and Humanity, 5(2), 12- 21.

Social Data-based and Indicator Development Office. (2018). Thailand’s Regional Revenue and Inequality. Report. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board

Sriboonjit, S. (2008). The Comparative Assessment Project in the Public Dimension to Bring the Sufficiency Economy Philosophy. Research Report. Chiangmai University.

Yenbumrung, N. (2019). The Political Economy of Peri – Urban: The case of Khong Sam, Klong Luang District Pathumthani. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(2), 69-82.